ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือได้ก้าวล้ำผนวกรวมอุปกรณ์หลากหลายชนิดเข้าไปอยู่ในเครื่องเล็กๆเครื่องเดียว ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตกล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ เกมส์ ฯลฯ ทำให้โทรศัพท์มือถือขยายขีดความสามารถของตนเองมากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว
จึงไม่น่าแปลกใจอะไรเลยเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญใดๆเกิดขึ้น เราจะเห็นคนอยู่ในเหตุการณ์ต่างควักโทรศัพท์มือถือของตนเองขึ้นมาถ่ายรูป ถ่ายคลิปวีดีโอ จากนั้นก็ส่งผ่านสัญญาณ wi-fi หรืออินเตอร์เน็ตไร้สายไปปรากฏใน Social media หรือเวบประเภทต่างๆ
โทรศัพท์มือถือกลายเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญของนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) รวมทั้งนักข่าวมืออาชีพ (Professional Journalist) ในการถ่ายทอดข่าวสาร เรื่องราว ภาพเหตุการณ์ที่สดใหม่ รวดเร็ว
ในแวดวงวิชาวารสารศาสตร์ เรียกคนที่ใช้เฉพาะโทรศัพท์มือถือในการรายงานข่าวว่าMojo ซึ่งย่อมาจากคำว่า Mobile Journalist
Mojo จัดเป็นนักข่าวสายพันธุ์ใหม่ แตกต่างจากนักข่าวมืออาชีพแบบดั้งเดิม เพราะธรรมดาแล้ว การทำข่าวโทรทัศน์แบบมืออาชีพจะต้องใช้ทีมงานไม่น้อยกว่า 3 คน
แต่ Mojo สามารถทำข่าวทั้งกระบวนการจบสิ้นได้โดยคนคนเดียว ผ่านโทรศัพท์มือถือประเภท Smart Phone ใช้ Free software เป็นตัวช่วยในการตัดต่อ ก่อนจะเผยแพร่ผ่านสัญญาณเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย
Mojo กลายเป็นเทรนด์ใหม่ของแวดวงนักข่าว โดยเฉพาะนักข่าวพลเมือง ซึ่งเน้นความดิบ สดใหม่ รวดเร็ว
การแพร่ขยายของ Mojo เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้นักข่าวมืออาชีพ โดยเฉพาะนักข่าว ช่างภาพโทรทัศน์ ต้องปรับตัวเพื่อดึงเรตติ้งคนดูของตนเอง
ขั้นตอนการทำข่าวMoJo
แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
1 Pre-Production ขั้นตอนการตรียมการ
เป็นขั้นตอนแรกในการทำงาน โดยเริ่มจาก
1. การคิดประเด็นข่าว ต้องเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาของสังคมและส่งผลกระทบในวง กว้าง
2. การแสวงหาข้อมูลและสารสนเทศ หลังจากได้ประเด็นแล้วเราควรหาข้อมูลในเรื่อง นั้นๆเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เราสนใจและนำไปสู่การกำหนดแหล่งข่าวและกำหนดคำถาม สัมภาษณ์ (ควรมีการร่างสคริปคร่าวๆเพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน)
3. การเข้าถึงแหล่งข่าว
4. การสัมภาษณ์แหล่งข่าว
5. ตรวจสอบข้อมูล ว่าข้อมูลที่เราได้มาจากแหล่งข่าว ครบถ้วนหรือมีประเด็นไหนผิดและเตรียมการแก้ไขโดยเร็ว
2. Production ขั้นตอนการรายงานข่าว
เป็นขั้นตอนการผลิตคลิปวีดีโอ จากสคริปที่เตรียมไว้ ตัดต่อผสมเสียงให้เรียบร้อย พร้อมเเผยแพร่
3. Post production ขั้นตอนหลังการสื่อข่าว
ขั้นตอนที่ลืมไม่ได้เลยคือการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค เพื่อรับทราบว่าข่าวที่เผยแพร่ออกไปนั้นสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคข่าวสาร สังคม ประเทศชาติอย่างไร รวมถึงเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข่าวด้วย
วิธีการดำเนินงาน
ลำดับภาพ
|
ภาพ
|
เสียง
|
1.
|
นักศึกษา (วรรณชัย) พูดเกริ่นข่าว
หน้ากล้อง
|
(พูดเกริ่นข่าว) วันนี้นะครับเราจะมานำเสนอเรื่องขยะหลังตึก2เนื่องจากมีขยะเป็นจำนวนมากทั้งมางเดินและบนโต๊ะเพราะว่ามีร้านค้าอยู่แถวนั้นซึ่งเป็นปัญหาแกนักศึกษาที่ไปใช้พื้นที่
|
2.
|
ภาพข่าวบริเวณหลังตึก2
|
|
3.
|
สัมภาษณ์นักศึกษาที่ใช้บริการพื้นที่หลังตึก2
|
ถาม :
รู้สึกอย่างไรเวลาเห็นขยะบริเวณนี้
ตอบ :
ก็รู้สึกสกปรกกินแล้วไม่ทิ้งเราต้องมานั่งต่อเราต้องมาเก็บหรือเลอะเทอะบ้างอะไรบ้าง
ถาม : แล้วคิดว่าจะมีการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง
ตอบ : แก้ปัญหาที่ตัวเราเองหรือคนที่ใช้ก่อนหน้านี้ควรจะแก้ไขกันว่าทานแล้วก็ทิ้งง่ายๆครับ
|
4.
5.
|
สัมภาษณพนักงานทำความสะอาดหลังตึก2
นักศึกษา(วรรณชัย)พูดปิดข่าวหน้ากล้อง
|
ถาม:รู้สึกอย่างไรเวลาเห็นขยะบริเวณนี้
ตอบ:ปัญหามีมานานแล้วได้แต่ทิ้งๆแก้ปัญหาก็ไม่ดีขึ้น
ถาม:แล้วคิดว่ามีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
ตอบ:อย่างให้เขาเทปูนบริเวณพื้นเพราะมันเป็นร่องก้นบุหรี่เข้าไปได้ง่ายทำให้ทำความสะอาดได้ยาก
ได้รับทราบปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาไปแล้วนะครับถ้านักศึกษาร่วมมือร่วมใจกันพื้นที่นี้ก็จะเป็นพื้นที่ที่น่านั่งและน่าอยู่กว่าเดิม วรรณชัย
เพชรแก้ว 570106050014 รายงาน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น