ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อจากราชสำนักสู่สามัญชน
ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์
เช่น ก.ศ.ร. กุหลาบ และเทียนวรรณ ก.ศ.ร. กุหลาบ
เป็นสามัญชนธรรมดาที่ไม่มียศไม่มีศักดิ์ ได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษในปีพ.ศ.2440
แม้ว่าหนังสือพิมพ์สามัญชนต้องแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ของเจ้านายและเสี่ยงต่อการขาดทุนเพราะโฆษณายังไม่แพร่หลาย
แต่กลับได้รับความนิยมจากคนอ่านเป็นจำนวนมาก
ระยะแรกออกเป็นรายเดือนต่อมาจึงออกเป็นรายปักษ์(รายสองสัปดาห์) มีการนำเสนอข่าวความรู้
ประวัติศาสตร์ มีการเยาะเย้ยถากถางสังคม
และมีการตอบคำถามที่มีคนส่งมายังบรรณาธิการจุดเด่นของหนังสือสยามประเภทอยู่ที่เรื่องพงศาวดารและโบราณคดี
ซึ่ง ก.ศ.ร. กุหลาบได้แอบคัดลอกมาจากหนังสือหลวงที่มีอยู่ในหอหลวง
ทำให้เป็นที่นิยมเชื่อถือมาก แต่ต่อมาได้มีการแต่งเติม
สอดแทรกความคิดเห็นของตนเข้าไปในเนื้อหา ทำให้รัชกาลที่ 5 ไม่พอพระทัยจึงสั่งให้จับตัวไปอยู่โรงพยาบาลบ้า
7 วัน
นับว่าเป็นครั้งแรกที่คนไทยถูกสอบสวนเรื่องการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น