วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ข่าวภาพ (2493 - 2501)
เมื่อวันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 (65 ปี)บริษัท ข่าวภาพบริการ จำกัด ยื่นคำขอจดทะเบียน เป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ (The Weekly Pictorial) ซึ่งถือเป็นวันขึ้นรอบปีของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่กำพลเป็นเจ้าของอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันต่อมาจึงออกวางแผงเป็นรายสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่9 มกราคมพ.ศ. 2493และในวันที่5 ตุลาคมพ.ศ. 2494กำพล วัชรพล, เลิศ อัศเวศน์และวสันต์ ชูสกุล ผู้ร่วมก่อตั้งข่าวภาพ ปรับเวลาออกหนังสือพิมพ์ให้เร็วขึ้น จากรายสัปดาห์เป็นรายสามวันจากนั้นเมื่อวันที่1 มิถุนายนพ.ศ. 2495หนังสือพิมพ์ข่าวภาพรายวันฉบับปฐมฤกษ์ ออกจำหน่ายแทนที่ข่าวภาพรายสามวันมีจำนวนพิมพ์ 3,000 ฉบับ จากนั้น บจก.ข่าวภาพบริการขยายกิจการไปออกนิตยสารข่าวภาพรายเดือน ซึ่งเริ่มวางแผงฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนมกราคมพ.ศ. 2496แต่แล้ว ในวันที่20 ตุลาคมพ.ศ. 2501จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์หัวหน้าคณะปฏิวัติ ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 สั่งปิดหนังสือพิมพ์หลายฉบับ รวมทั้งข่าวภาพด้วยรวมถึงหลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ ก็เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงพิมพ์ซ้ำเข้ามาอีก
เสียงอ่างทอง (2502 - 2505)
หลังจากนั้น กำพลก็ใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการออกหนังสือพิมพ์ใหม่อีกครั้งโดยตลอดคณะปฏิวัติในขณะนั้นไม่อนุญาตให้ออกหัวหนังสือพิมพ์ใหม่กำพลจึงเช่าซื้อหัวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเสียงอ่างทองซึ่งปกติออกในจังหวัดอ่างทองมาพิมพ์จำหน่าย เป็นรายวันในส่วนกลาง ตั้งแต่วันศุกร์ที่1 พฤษภาคมพ.ศ. 2502ด้วยยอดพิมพ์ในครั้งแรก 7,000 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวน 10 หน้า ราคาฉบับละ 0.50 บาท และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อวันที่1 มกราคมพ.ศ. 2503ยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์เสียงอ่างทอง เพิ่มขึ้นสูงถึง 45,000 ฉบับกำพลจึงเริ่มใช้ระบบตีด่วน โดยตั้งฝ่ายจัดจำหน่ายขึ้นในแต่ละภูมิภาค]
ไทยรัฐ (2505 - ปัจจุบัน)
เมื่อวันอังคารที่25 ธันวาคมพ.ศ. 2505หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออกวางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ โดยกองบรรณาธิการชุดเดิมของเสียงอ่างทองหนังสือพิมพ์เสียงอ่างทองถูกสั่งปิดอีกครั้ง ผลกระทบจากการเสนอข่าวการเมืองจึงทำให้หนึ่งในเบื้องหลังผู้บริหารขณะนั้นต้องทำการขอเปิดหนังสือพิมพ์ในหัวใหม่เปลี่ยนสถานที่จัดพิมพ์ เปลี่ยนบรรณาธิการบริหารโดยใช้คำขวัญในยุคแรกว่าหนังสือพิมพ์เช้า ภาพข่าวสดประจำบ้านมีจำนวนพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวน 16 หน้า ราคาฉบับละ 1.00 บาทต่อมา ในราวปลายปีพ.ศ. 2508ไทยรัฐเริ่มจัดพิมพ์ฉบับพิเศษในวันอาทิตย์ ให้ชื่อว่าไทยรัฐสารพัดสีจำนวน 20 หน้า ราคาเท่าเดิม ส่งผลให้ยอดพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 140,000 ฉบับ
ต่อมาในวันที่12 กรกฎาคมพ.ศ. 2511เพิ่มจำนวนเป็น 20 หน้าต่อฉบับในทุกวัน ส่งผลให้ยอดพิมพ์เพิ่มขึ้นอีกเป็น 200,000 ฉบับ จากนั้นในปีพ.ศ. 2515พนักงานของไทยรัฐพากันลาออกพร้อมกันเป็นจำนวนมาก จนเกือบทำให้ต้องปิดกิจการ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อมาต่อมาเมื่อวันที่1 กรกฎาคมพ.ศ. 2516ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 50 สตางค์ (เป็น 1.50 บาท) ในช่วงเหตุการณ์วันมหาวิปโยคระหว่างวันที่14-16 ตุลาคมพ.ศ. 2516ยอดพิมพ์ไทยรัฐปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะวันที่ 16 เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,181,470 ฉบับ
เกิดเหตุลอบยิงสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ด้วยระเบิดเอ็ม-79 เมื่อวันที่3 ตุลาคมพ.ศ. 2519ไทยรัฐได้สร้างปรากฏการณ์สำคัญอีกครั้ง เมื่อวันที่15 มกราคมพ.ศ. 2520ด้วยการเช่าเครื่องบินเหมาลำ จากจังหวัดเชียงใหม่กลับสู่กรุงเทพมหานครเพื่อเป็นห้องล้างฟิล์มชั่วคราวกลางอากาศ ที่บันทึกภาพข่าว การชกมวยป้องกันตำแหน่งของแสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ที่ชนะน็อกมอนโร บรูกส์ในยกที่ 15 โดยเมื่อถึงกรุงเทพฯ จึงนำภาพลงหนังสือพิมพ์ได้เพียงฉบับเดียว
เมื่อวันที่1 ธันวาคมพ.ศ. 2521ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องเฮลล์ (Hell) ในระบบรับ-ส่งภาพขาวดำระยะไกล (Telephoto Receiver & Facsimile Transmitter) ทั้งนี้ไทยรัฐยังเพิ่มยอดพิมพ์ในฉบับประจำวันที่1 กันยายนพ.ศ. 2522เป็นจำนวน 1,000,742 ฉบับ นอกจากนี้ ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 50 สตางค์ (เป็น 2.00 บาท) เมื่อวันที่1 ตุลาคมพ.ศ. 2522และปรับขึ้นอีก 1 บาท (เป็น 3.00 บาท) เมื่อวันที่1 มีนาคมพ.ศ. 2523
จากนั้น ไทยรัฐได้สร้างปรากฏการณ์อีกครั้ง ในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับประจำวันที่27 พฤษภาคมพ.ศ. 2529พาดหัวข่าวตัวใหญ่ถึงครึ่งหน้ากระดาษ โดยดำริของกำพลเองว่าสั่งปลด...อาทิตย์ส่งผลให้ยอดจำหน่ายขึ้นสูงไปถึงเลข 7 หลักซึ่งเพิ่มขึ้นจากปกติถึงร้อยละ 30 และไทยรัฐเริ่มพิมพ์ภาพสี่สีบนปกเป็นฉบับแรก เมื่อวันที่3 มิถุนายนพ.ศ. 2531โดยตีพิมพ์ภาพข่าวนางสาวภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนกรับตำแหน่งนางงามจักรวาลที่ไต้หวันและวันถัดมาเชิญพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดปรินายกวรวิหาร ตีพิมพ์บนหน้า 1 ของไทยรัฐด้วย
1 พฤศจิกายนพ.ศ. 2531 ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 2 บาท (เป็น 5.00 บาท) และวันที่13 ตุลาคมพ.ศ. 2532ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องเฮลล์ ในระบบรับส่งภาพสีระยะไกล ไทยรัฐสร้างปรากฏการณ์พิเศษ ด้วยการจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ ฉบับประจำวันพุธที่27 ธันวาคมพ.ศ. 2532เป็นพิเศษ จำนวน 108 หน้า เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 40 ปีหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และครบรอบวันเกิด 70 ปี ของนายกำพลในฐานะผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬระหว่างวันที่17-21 พฤษภาคมพ.ศ. 2535ไทยรัฐมียอดพิมพ์อยู่ในระดับ 1,000,000 ฉบับเศษ โดยเฉพาะวันที่19 พฤษภาคมเพิ่มสูงขึ้นถึง 1,428,624 ฉบับ
เมื่อวันที่11 มกราคมพ.ศ. 2537 ไทยรัฐนำเครื่องรับส่งภาพระยะไกล ลีแฟกซ์ (Leafax) จากบริษัทเอพี จำกัด เข้ามาใช้ต่อพ่วง และแสดงภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้งานได้ทันที รวมทั้งเมื่อวันที่20 พฤษภาคมปีเดียวกัน ศูนย์ข่าวภูมิภาคใน 17 จังหวัดก็ได้นำระบบรับส่งภาพดังกล่าวไปใช้ในการส่งภาพกลับเข้ามายังสำนักงานส่วนกลางที่กรุงเทพฯ อีกด้วยต่อมาเพิ่มอีก 9 จังหวัด ในวันที่10 กรกฎาคมพ.ศ. 2539และเพิ่มอีก 4 จังหวัด ในวันที่10 พฤศจิกายนปีเดียวกัน รวมทั้งสิ้น 30 จังหวัด
ในวันขึ้นปีใหม่พ.ศ. 2539 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเพิ่มเป็น 40 หน้าทุกวันตามที่ได้เตรียมการมาเป็นเวลายาวนาน พร้อมประกาศปรับราคาจำหน่ายอีก 3 บาท (เป็น 8.00 บาท) จากนั้นจึงประกาศปรับราคาอีก 2 บาท (เป็น 10.00 บาท)เมื่อปีพ.ศ. 2551ปัจจุบัน (พ.ศ. 2555) มีบริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, ยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการและสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการซึ่งทั้งสองเป็นบุตรีและบุตรของกำพล มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบัน 1,000,000 ฉบับราคาจำหน่าย 10.00 บาท ในหนึ่งฉบับมีประมาณ 28-40 หน้า














ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อจากราชสำนักสู่สามัญชน
ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์ เช่น ก.ศ.ร. กุหลาบ และเทียนวรรณก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นสามัญชนธรรมดาที่ไม่มียศไม่มีศักดิ์ ได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อสยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษในปี พ.ศ.2440 แม้ว่าหนังสือพิมพ์สามัญชนต้องแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ของเจ้านายและเสี่ยงต่อการขาดทุนเพราะโฆษณายังไม่แพร่หลายแต่กลับได้รับความนิยมจากคนอ่านเป็นจำนวนมากระยะแรกออกเป็นรายเดือนต่อมาจึงออกเป็นรายปักษ์ (รายสองสัปดาห์)มีการนำเสนอข่าวความรู้ ประวัติศาสตร์ มีการเยาะเย้ยถากถางสังคมและมีการตอบคำถามที่มีคนส่งมายังบรรณาธิการจุดเด่นของหนังสือสยามประเภทอยู่ที่เรื่องพงศาวดารและโบราณคดี ซึ่ง ก.ศ.ร.กุหลาบได้แอบคัดลอกมาจากหนังสือหลวงที่มีอยู่ในหอหลวงทำให้เป็นที่นิยมเชื่อถือมาก แต่ต่อมาได้มีการแต่งเติมสอดแทรกความคิดเห็นของตนเข้าไปในเนื้อหา ทำให้รัชกาลที่ 5 ไม่พอพระทัยจึงสั่งให้จับตัวไปอยู่โรงพยาบาลบ้า 7 วันนับว่าเป็นครั้งแรกที่คนไทยถูกสอบสวนเรื่องการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น