วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ยุคหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจฟองสบู่และวิกฤติเศรษฐกิจ(2553-ปัจจุบัน)
ยุคนี้อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน ในช่วงนี้หนังสือพิมพ์ต้องทำงานภายใต้ระบบทางวัฒนธรรมที่สังคมไทยเปิดรับการสื่อสารข้ามชาติหรือข้างพรมแดนมากขึ้น นอกจากหนังสือพิมพ์ต้องขับเคี่ยวระหว่างหนังสือพิมพ์ด้วยกันแล้ว ยังต้องขับเคี่ยวกับอุตสาหกรรมสื่อมวลชนอื่นๆเช่น โทรทัศน์ วิทยุและอินเทอร์เน็ต ในการแก่งแย้งงบประมาณโฆษณาและผู้บริโภค หนังสือพิมพ์ที่จะได้รับความนิยมจึงต้องสะท้อนความเป็นสากล มีความรอบด้าน ลึกซึ้งเป็นกลาง และเสนอข่าวแบบเจาะลึก น้ำหนังของการเติบโตในระยะแรกของช่วงนี้ยังอยู่ที่หนังสือพิมพ์ระดับผู้นำ และหนังสือพิมพ์แนวเศรษฐกิจ
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปีพ.ศ. 2540 ที่ต่อเนื่องมาจากถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2545) เป็นผลให้หนังสือพิมพ์หลายฉบับปิดกิจการลงไป เฉพาะอย่างยิ่งหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจที่อาศัยรายได้หลักจากโฆษณา แต่การที่หนังสือพิมพ์มีจำนวนลดน้อยลงทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับที่ดำเนินการอยู่มีช่องทางขยายจนกลายเป็นธุรกิจทุนขนาดใหญ่ หนังสือพิมพ์ที่อยู่ได้มักเป็นหนังสือพิมพ์ที่นำกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์เกิดหนังสือพิมพ์ประชานิยม หรือเชิงปริมาณแนวใหม่ขึ้น คือ คม ชัด ลึก ซึ่งเน้นเสนอเรื่องเร้าอารมณ์เช่นด้วยกับหรือสื่อพิมพ์เชิงปริมาณทั่วไปเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม พ.ศ. 2535 ได้ส่งผลให้เกิดพลังของภาคประชาชน หรือประชาสังคมมากขึ้น และกระจายไปทั่วประเทศ ประชาชนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวปฏิรูปการเมือง มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน รวมทั้งสิทธิในการแสวงหาสข่าวสารข้อมูล และคุ้มครองการทำงานของนักวิชาชีพสื่อมวลชน เกิดองค์กรสิสระที่ทำหน้าที่รักษาสิทธิของประชาชนและเป็นสถาบันกลางที่เชื่อโยงการทำงานระหว่างภาครัฐกับประชาชน เช่น คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอบ เป็นต้น บรรยากาศทางการเมืองและสังคมในช่วงนี้ จึงเป็นการปูฐานรากของประชาธิปไตยแลบประชาขมมีส่วนร่วม เน้นความโปร่งใสตรวจสอบได้ของภาครัฐและภาคธุรกิจ หนังสือพิมพ์ถูกเรียกร้องให้ทำงานด้วยความรับผิดชอบและเคร่งครัดในจรรยาบรรณ ในปี พ.ศ. 2540 ธุรกิจหนังสือพิมพ์ได้ประกาศจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แหงชาติขึ้นเพื่อควบคุมกันเองทางวิชาชีพ

กล่าวโดยสรุป ประวัติศาสตร์หนังสือพิมพ์ไทยได้เติบโตผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการแสวัฒนธรรมข้ามชาติ จะเห็นได้ว่า พัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยล้วนเกี่ยวโยงกับแนวคิดอุดมการณ์ที่มีส่วนกำหนดสถานภาพของหนังสือพิมพ์ในแต่ละยุคและหนังสือพิมพ์ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเนื้อหาและแนวนโยบายไปตามบริบทเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จากหนังสือพิมพ์ที่อยู่ในมือของเจ้านายราชสำนัก มาอยู่ในการดำเนินการปัญญาชน สามัญชน นักการเมือง นักธุรกิจหรือเจ้าของทุน และพัฒนาจนกลายเป็นธุรกิจทุนขนาดใหญ่ที่ส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างไม่เสรี

การบริหารงานอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์


หน่วยงานด้านการจัดการ หน่วยงานด้านบรรณาธิการ หน่วยงานด้านการผลิต- งานธุรการงานบุคคลงานข่าวในประเทศ งานเรียงพิมพ์และพิสูจน์อักษร- งานจัดจำหน่ายงานข่าวต่างประเทศ งานจัดลำดับหน้า- งานจัดหาโฆษณางานขาวภูมิภาค งานถ่ายฟิล์ม ทำเพลต- งานการตลาดและงานข่าวการเมือง งานการเข้าเล่มส่งเสริมการขายงานข่าวอาชญากรรม งานเทคนิคและการบำรุงรักษา- งานด้านการงินและบัญชีงานขาวเศรษฐกิจ- งานข่าวการศึกษา- งานข่าวบันเทิง- งานข่าวสตรีสังคม- งานข่าวสารคดีบทความ- งานข่าวฝ่ายภาพ- งานข่าวจัดหน้าและงานด้านศิลป์- งานข่าวบรรณาธิกร- งานห้องสมุดและศูนย์ข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น