วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พระราชประวัติ นมส.

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระนามเดิม พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือ น.ม.ส. ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นตระกูล รัชนีพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังวิไชยชาญ กับ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม ประสูติ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ ในพระบวรราชวัง เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับ มารดาที่ตา หนกั เมื่อชนัษา ๕ ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนัก สวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และต่อมาศึกษา ภาษาอังกฤษจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษาได้ ๑๖ ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็น กรรมการพิเศษร่างพระราชบัญ ญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม -๒- ให้พระองค์เจ้า รัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลา ๒ ปี ทรงเสด็จ กลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจ และกรมสารบัญชี พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็นผู้แทน เจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตา แหน่งเป็นรองเสนาบดีกระทรวง พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสเป็น องคมนตรีและโปรดเกล้าฯ ให้ ทรงกรมฯ เป็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ในปีพ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำ แหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับ กรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสา หรับพระนคร เป็น ราชบัณฑิตยสภา พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงโปรดเล่นกีฬาเทนนิส ทรงพระดำริตั้งลอนเทนนิสสมาคม แห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงเป็นนักหนังสือพิมพ์ นักประพันธ์ และกวีที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ทรงใช้พระนามแฝงว่า น.ม.ส. ทรงนิพนธ์เรื่องสำคัญๆ ไว้หลายเรื่อง เช่น จดหมายจางวางหร่า พระนลคำฉันท์ นิทานเวตาล กนกนครเป็นต้น ในด้นชีวิตส่วนพระองค์ของพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงอภิเษกสมรส กับ หม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปพันธ์พงศ์ทรงมีพระราชธิดาและพระโอรส คือ หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิต และหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ สิริพระชนมายุได้ ๖๘ ปี๖ เดือน ๑๓ วันพระนิพนธ์ปกนิทานเวตาล ฉบับแปลโดย น.ม.ส.ในด้านงานพระนิพนธ์ ทรงเป็นกวีเอก ในการนิพนธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วมากมายหลายเรื่อง ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." ย่อมาจากตัวอักษรท้ายพระนามเดิม รัชนี แจ่ม จรัส ทรงมีผลงานตีพิมพ์ (บางส่วน) ได้แก่พ.ศ. 2447 - สงครามญี่ปุ่น กับ รัสเซีย 2 เล่มพ.ศ. 2448 - จดหมายจางวางหร่ำ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายเดือน "ทวีปัญญา" ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพ.ศ. 2453 - สืบราชสมบัติพ.ศ. 2459 - พระนลคำฉันท์ และ ตลาดเงินตราพ.ศ. 2461 - นิทานเวตาล พิมพ์ครั้งแรก เพื่อแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมพัฒน์ รัชนีพ.ศ. 2465 - กนกนครพ.ศ. 2467 - ความนึกในฤดูหนาวพ.ศ. 2469 - ปาฐกถา เล่ม 1 พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาเลี่ยมพ.ศ. 2472 - ปาฐกถา เล่ม 2
พ.ศ. 2473 - ประมวญนิทาน น.ม.ส. รวบรวมจากหนังสือ ลักวิทยาและทวีปัญญาพ.ศ. 2474 - เห่เรือ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2475
พ.ศ. 2474 - บทร้อง"อโหกุมาร" - ทรงนิพนธ์ด้วยสยามวิเชียรฉันท์8 ประทานให้เป็นบทร้องประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์พ.ศ. 2473 - กลอนและนักกลอนพ.ศ. 2474 - คำทำนายพ.ศ. 2477 - เครื่องฝึกหัดเยเตลแมนในออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์พ.ศ. 2480 - เสภาสภาพ.ศ. 2481 - ปฤษาณาเถลิงศก(ไม่ทราบปีที่พิมพ์ แต่ทรงนิพนธ์ช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2) - ยุคกลางในยุโรป หรือ นิทานชาลมาญพ.ศ. 2487 - สามกรุง - พระนิพนธ์สุดท้ายในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ขณะนั้นพระองค์ประชวรต้อกระจก ทรงให้ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต (พระธิดาในกรม) จดตามคำบอกของพระองค์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น