พัฒนาการหนังสือพิมพ์ไทย
1.ยุคหนังสือพิมพ์ฝรั่ง
หนังสือพิมพ์ยุคแรกเริ่มราวปลายรัชกาลที่
3 ถึงกลางรัชกาลที่ 4 หมอบลัดเลย์นายแพทย์ชาวอเมริกันเป็นผู้บุกเบิก
จนได้ชื่อว่า “บิดาแห่งการพิมพ์สยาม” เพื่อสนองความต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ของกลุ่มมิชชันนารี
โดยก่อนหน้านี้ได้พิมพ์เพียงประกาศของทางราชการเท่านั้น
จนกระทั่งเห็นว่าพร้อม จึงออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกชื่อ “บางกอกรีคอร์เดอร์”
ในวันที่
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 หรือคนไทยเรียกว่า “จดหมายเหตุอย่างสั้น”
เพราะลงตีพิมพ์ข่าวและประกาศต่างๆ
จัดได้ว่าเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ฉบับแรกของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวต้องปิดตัวลงภายใน
2 ปี เนื่องจากขาดทุน เพราะคนไทยยังไม่รู้จัก
ต่อมา
หมอบลัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2407 โดยใช้ชื่อเดิม
หนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการให้ความรู้แก่ชนชั้นสูงมากกว่ามวลชนทั่วไป
อีกทั้งการกล้าเสนอในสิ่งที่คนไทยสมัยนั้นไม่กล้าเสนอจึงหมิ่นเหม่ต่อคดีอาญา
รัชกาลที่
4 ประกาศไม่ให้เชื่อหนังสือพิมพ์
เพราะทรงเห็นว่าบางครั้งนำเสนอเกินจริงและให้ร้ายป้ายสีผู้อื่น
ต่อมาหมอบลัดเลย์แพ้คดีความที่ถูกฑูตชาวฝรั่งเศสฟ้องร้อง
จนต้องเลิกกิจการเพราะขาดทุน
ในช่วงเดียวกันยังมีหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นอีก
ได้แก่ บางกอกคาร์เลนดาร์ของหมอจันทเล บางกอกเดลี่ของหมอสมิธ เป็นต้น
2.ยุคหนังสือพิมพ์ราชสำนัก
ยุคหนังสือพิมพ์ราชสำนัก
การทำหนังสือพิมพ์ในราชสำนักเริ่มขึ้นในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงปลายรัชกาลที่ 5 กลุ่มหนึ่งที่มีการศึกษาจากต่างประเทศมีความเห็นว่าถ้าให้ฝรั่งออกหนังสือพิมพ์แต่ฝ่ายเดียวย่อมเป็นภัยจึงได้ออกหนังสือ
ราชกิจจานุเบกษาในปีพ.ศ. 2401 มีกำหนดออกเป็นครั้งคราวมีประสงค์เพื่อแจ้งประกาศของราชการกฎหมายข้อบังคับ
แจ้งความเตือนสติ และชี้แจงข่าวคลาดที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์
นับได้ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ออกโดยคนไทยราชกิจจานุเบกษาที่ออกในปลายสมัยรัชการที่ 4 ออกได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป
และมาออกอีกครั้งหนึ่งในรัชการที่ 5 ในปี พ.ศ. 2517 ในปีพ.ศ. 2418 ได้มีการออกหนังสือ
ค็อต ข่าวราชการ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันมีจำนวนหน้า 4 หน้า
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวราชการ
และข่าวความเคลื่อนไหวในราชสำนักรายงานข่าวกำหนดการต่างๆที่ควรจะบอกล่วงหน้า
บุคคลในข่าวมักเป็นพระบรมวงศานุวศ์และข้าราชการเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีหนังสือวชิรญาณและ วชิรญาณวิเศษ ในปี พ.ศ. 2427 เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือน
เน้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และเรื่องอ่านเล่น
เนื่องจากการพิมพ์หนังสืออยู่ในอิทธิพลของราชสำนักและจัดทำโดยเจ้านาย
เนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือพิมพ์ในยุคนี้จึงเป็นเรื่องทางราชการ
และอ่านกันเฉพาะในหมู่คนจำนวนน้อย
ไม่หวังผลทางการค้าเพราะอยู่ได้ด้วยการนสนับสนุนจาราชสำนัก
3.ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อจากราชสำนักสู่สามัญชน
ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่
5 เริ่มมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์ เช่น ก.ศ.ร. กุหลาบ และเทียนวรรณก.ศ.ร.
กุหลาบ เป็นสามัญชนธรรมดาที่ไม่มียศไม่มีศักดิ์ ได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ
สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษในปี พ.ศ.2440 แม้ว่าหนังสือพิมพ์สามัญชนต้องแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ของเจ้านายและเสี่ยงต่อการขาดทุนเพราะโฆษณายังไม่แพร่หลาย
แต่กลับได้รับความนิยมจากคนอ่านเป็นจำนวนมาก
ระยะแรกออกเป็นรายเดือนต่อมาจึงออกเป็นรายปักษ์ (รายสองสัปดาห์)
มีการนำเสนอข่าวความรู้ ประวัติศาสตร์ มีการเยาะเย้ยถากถางสังคม
และมีการตอบคำถามที่มีคนส่งมายังบรรณาธิการจุดเด่นของหนังสือสยามประเภทอยู่ที่เรื่องพงศาวดารและโบราณคดี
ซึ่ง ก.ศ.ร. กุหลาบได้แอบคัดลอกมาจากหนังสือหลวงที่มีอยู่ในหอหลวง
ทำให้เป็นที่นิยมเชื่อถือมาก แต่ต่อมาได้มีการแต่งเติม
สอดแทรกความคิดเห็นของตนเข้าไปในเนื้อหา ทำให้รัชกาลที่ 5 ไม่พอพระทัยจึงสั่งให้จับตัวไปอยู่โรงพยาบาลบ้า
7 วัน
นับว่าเป็นครั้งแรกที่คนไทยถูกสอบสวนเรื่องการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
4.ยุคใหม่ : หนังสือพิมพ์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เป็นยุคที่สถานะทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศดีขึ้น
มีการตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 บังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปี บริบูรณ์
ต้องเรียนหนังสือในระบบโรงเรียนถึง 14 ปีบริบูรณ์
เป็นยุคที่หนังสือพิมพ์เข้าถึงมวลชนมากขึ้น
ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมือง อันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่1 และการเมืองในประเทศจีนใน
(ปี พ.ศ.2467) ประการสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานงานหนังสือพิมพ์
และทรงมีพระราชอัธยาศัยโปรดการโต้แย้งแสดงความคิดเห็น ด้วยเหตุนี้
จึงมีผู้ประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์มากขึ้น
ข่าวสารการเมืองเริ่มเป็นที่สนใจของประชาชน
มีการวิพากษ์โต้แย้งกันบนหน้าหนังสือพิมพ์ มีการแข่งขันกันดึงดูดใจผู้อ่านด้วยพาดหัวตัวโต
มีหนังสือพิมพ์ออกมาอย่างแพร่หลาย ทั้งฉบับภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน
มีการออกหนังสือข่าวของ
“ดุสิตธานี” ทั้งรายวันรายสัปดาห์ คือดุสิตสมัยรายวันและดุสิตสมิธราย3 เดือน
ซึ่งได้รับความนิยมมาก มีทั้งเรื่องตลกขบขัน เบ็ดเตล็ดและกวีนิพนธ์
ลักษณะเด่นคือมีการ์ตูนล้อการเมือง พระราชนิพนธ์ที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ ได้แก่
“โคลนติดล้อ”
และ
”ล้อติดโคลน” เป็นการเขียนถึงสังคม ความเป็นอยู่
และการเมืองของไทย แม้ว่าหนังสือพิมพ์สมัยรัชกาลที่ 6 จะมีเสรีภาพ
แต่เป็นเสรีภาพภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
และการควบคุมของกฎหมายการพิมพ์ฉบับแรกคือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสารและหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2465
5.ยุคการเปลี่ยนผ่าน : หนังสือพิมพ์ระบอบรัฐธรรมนูญ
เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลทื่7
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ
ใน ปี พ.ศ.2475 มีการรับรองสิทธิเสรีภาพในการพูด การเขียน การโฆษณา (มาตรา 14 แห่งรัฐธรรมนูญ
2475) แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก
สถานการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจระหว่างกลุ่มเจ้านายและคณะราษฎร
ทำให้หนังสือพิมพ์มีการแบ่งเป็นฝักฝ่าย คือ ฝ่ายอิสระ
ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายนิยมกษัตริย์ รัฐบาล(คณะราษฎร)
ควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเคร่งครัดเพราะไม่มั่นใจในเสถียรภาพของตน
หวาดระแวงฝ่ายกษัตริย์ รวมถึงหวาดกลัวต่อการแทรกแซงของต่างประเทศ มีการตรวจข่าวก่อนนำลงตีพิมพ์
หนังสือพิมพ์ถูกสั่งปิดในสมัยนี้หลายฉบับ
แต่บางฉบับเลี่ยงโดยลดเนื้อหาข่าวการเมือง ไปนำเสนอข่าวชาวบ้าน และนิยายแทน
ในยุคนี้ได้ออกพระราชบัญญัติมาควบคุมหนังสือพิมพ์จำนวน
2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการพิมพ์พุทธศักราช 2476 โดยกำหนดวุฒิการศึกษาของบรรณาธิการต้องสอบไล่ชั้นประโยคมัธยมบริบูรณ์หรือเทียบเท่า
หรือเป็นผู้ซึ่งมีวิทยาฐานะอันมีกรรมการซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ต่ำกว่า
3 นาย เพื่อต้องการให้หนังสือพิมพ์มีมาตรฐาน
ขณะเดียวกันเป็นการควบคุมจำนวนหนังสือพิมพ์ไปด้วย
อีกฉบับหนึ่งเกิดในยุคสมัยจอมพล
ป.พิบูลสงคราม(พ.ศ.2481-2487) ได้แก่ พระราชบัญญัติการพิมพ์พุทธศักราช 2484
เพื่อควบคุมหนังสือพิมพ์ในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะสงคราม
เจ้าพนักงานการพิมพ์ คือ อธิบดีกรมตำรวจ ทำหน้าที่ตรวจข่าวโฆษณา
ถ้าเห็นว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
สั่งถอนใบอนุญาตหนังสือพิมพ์ได้ และกำหนดเงินทุนขั้นต่ำของการดำเนินงานหนังสือพิมพ์ไม่ต่ำกว่า
5 หมื่นบาท ทำให้หนังสือพิมพ์ต้องยุบรวมกัน ง่ายต่อการควบคุม
อีกทั้งในช่วงภาวะสงคราม ต้องมีการปันส่วนกระดาษและมีการประกาศยกเลิกใช้หนังสือพิมพ์บางหัว
ทำให้หนังสือพิมพ์ถูกควบคุมทางอ้อมจึงทำหน้าที่กลายเป็นผู้บันทึกเหตุการณ์
6.ยุคสิทธิเสรีภาพเบ่งบานและการล้อมปราบปรามครั้งใหญ่
การปราบปราม นสพ. นั้นมีขึ้นครั้งแรกช่วงปี พ.ศ. 2474 ช่วงที่กุหลาบ
สายประดิษฐ์ ทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ “ศรีกรุง” โดยเขาได้เขียนบทความชื่อว่า “มนุษยภาพ”
หลายตอนอยู่ด้วยกัน
โดยมีเนื้อความวิจารณ์จี้ไปยังจุดอ่อนของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
และกลายเป็นบทความที่มีความสำคัญที่สุด ในวงการหนังสือพิมพ์ไทยชิ้นหนึ่ง
แต่บทความนี้เองก็ทำให้แท่นพิมพ์ของหนังสือพิมพ์ศรีกรุง ต้องถูกล่ามโซ่เป็นเวลาถึง
9 วัน และพระยาอุปการศิลปะเศรษฐผู้เป็นบรรณาธิการก็ได้ถูกถอนใบอนุญาต
เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องใหญ่ในยุคนั้นมาก
เพราะเป็นครั้งแรกที่หนังสือพิมพ์ถูกล่ามโซ่แท่นพิมพ์ไว้
แต่เหตุการณ์การปราบปรามสื่อหนังสือพิมพ์ครั้งใหญ่จะเห็นได้ชัด
ในช่วงของการเดินขบวนครั้งใหญ่เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญของขบวนการนิสิตนักศึกษาและประชาชนหรือที่เรียกว่า
“การปฏิวัติ14 ตุลา” โดยประชาชน ได้นำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลทหาร
เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ
เปิดฟ้าใหม่ให้แก่สิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
มีหนังสือพิมพ์ เกิดใหม่เป็นจำนวนมาก และหนังสือพิมพ์มีจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างหลากหลายทั้งในฝ่ายเสรีนิยมและสังคมนิยม
รวมแล้วมีการขอออกหนังสือพิมพ์ถึง 753 ฉบับ แต่มีเพียงร้อยละ10 ที่ดำเนินการจริง
ในช่วงปี
พ.ศ. 2517 มีคนหนุ่มสาวและกลุ่มปัญญาชนหัวก้าวหน้าเข้าสู้วงการหนังสือพิมพ์
แบละได้ออหนังสือพิมพ์แนวการเมือง เช่น ประชาชาติ ประชาธิปไตย และ The
Voice of the Nation ส่วนนิสิตนักศึกษาได้ออกหนังสือพิมพ์ อธิปัตย์
เพื่อใช้เป็นเวทีในการแสดงบทบาททางการเมืองในอีกด้านหนึ่ง หนังสือพิมพ์
แนวอาชญากรรม เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ดาวสยาม
ก็ใช้โอกาสที่เสรีภาพเปิดกว้างในการขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัว ขายข่าวในเรื่องอาชญากรรม
ความรุนแรงและเรื่องทางเพศอย่างโจ่งครึ่มในปี พ.ศ. 2518 ม.ร.ว.
คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
พุทธศักราช2518 ที่อนุญาตให้มีการยึดแท่นพิมพ์ได้ มาควบคุมหนังสือพิมพ์แม้ว่านักหนังสือพิมพ์จะเรียกร้องให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์
พ.ศ. 2484 และพร้อมจะจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์เพื่อควบคุมกันเองในทางวิชาชีพ
อย่างไรก็
ดีบรรยากาศที่เสรีภาพเบ่งบานเต็มที่ในช่วงระยะ 3 ปี พ.ศ.2516-2519
ต้องสะดุดหยุดลง
เมื่อฝ่ายอนุรักษนิยมร่วมมือกับทหารใช้กำลังปราบปรามนักศึกษาและประชาชนที่ประท้วงการกลับมาของจอมพบ
ถนอม กิตติขจร หลังจากนั้น
กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าคณะปฏิรูปได้ก่อการรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม 2519
และบริหารประเทศด้วยการหิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2517 และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2520 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดๆที่รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและของสื่อมวลชน
มีการออกประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 42 สั่งปิดหนังสือพิมพ์และมีการตรวจเซนเซอร์อย่างเข้มงวด
หนังสือพิมพ์ที่ถูกกว้าวหาว่าเอียงซ้ายถูกยึดและมีรายชื่อหนังสือต้องห้าม 100
เล่ม
ผู้ใดมีไว้ครอบครองจะถูกยึดและเผา
มีคำสั่งเรียกผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับเข้าพบที่กอบบัญชาการทหารสูงสุด
เพื่อให้ของอนุมัติตี พิมพ์หนังสือพิมพ์เป็นรายๆไป หนังสือพิมพ์ที่ได้รับอนุมัติ
คือหนังสือพิมพ์ที่มีทัศนะเอียงขวาและกลางๆมีจำนวนทั้งสิ้น 12ฉบับ
ซึ่งไม่มีการวิจารณ์รัฐบาลคณะปฏิรูปอย่างสิ้นเชิงนิสิตนักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้ายหนีภัยคุกคามจากรัฐบาล
เข้าป่าจับอาวุธต่อสู่ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)
และมีการเผยแพร่ความคิดทางการเมืองผ่านวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย
และสื่อสิ่งพิมพ์ของพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยการสู้รบด้วยกำลังอาวุธระหว่างทหารรัฐบาลและกอบทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงเมื่อรัฐบาลประกาศนโยบาย
66/2523 และ65/2524 เพื่อลดสภาพความขัดแย้งรุนแรง
และการต่อสู้ทางความคิดและความเชื่อทางการเมืองที่ช้ำลังอาวุธและได้ประกาศนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่กลับจากป่าค้นสู่สังคมเมือง
7.ยุคพลังเศรษฐกิจนำหนังสือพิมพ์
สิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ค่อยๆฟื้นตัวขึ้นมาใหม่
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 เป็นต้นมา โครงสร้างและนโยบายของกิจการหนังสือพิมพ์พัฒนาขึ้นจนเรียกได้ว่าเป็นอุสาหกรรมหนังสือพิมพ์
ในทางการเมืองเป็นช่วงรอยต่อที่มีลักษณะประชาธิปไตยครึ่งใบ
ชนชั้นกลางเริ่มมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้อุตสากรรมหนังสือพิมพ์ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด
หนังสือพิมพ์แตกแขนงไป ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือนและรายสะดวก
(ส่วนใหญ่ได้แก่ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีกำหนดออกไม่แน่นอน)
หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ยอดขายสูงขึ้น
ขณะเดียวกันเกิดหนังสือพิมพ์ที่ประกาศตัวถือข้างฝ่ายการเมืองชัดเจน เช่น
เดลิมิเรอร์ที่เป็นแนวอนุรักษ์นิยม และเกิดหนังสือพิมพ์แบบผู้นำความคิด
เน้นข่าวการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการวิพากษ์วิจารณ์ เช่น มติชน The
Nation นอกจากนี้ ยังเกิดหนังสือพิมพ์แนวข่าวสารธุรกิจ อาทิ ผู้จัดการ
ฐานเศรษฐกิจ ประชาชาติธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ในยุคนี้อย่างแท้จริง
ธุรกิจหนังสือพิมพ์เข้าสู่ยุคเทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็ว
ในด้านการผลิตและการสื่อข่าว
การขยายตัวของธุรกิจโฆษณากลายเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์จนเป็นผลให้เงื่อนไขความเป็นอยู่รอดของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับขึ้นอยู่กับรายได้จากโฆษณา
ขณะเดียวกันก็เกิดการหาผลประโยชน์ทางธุรกิจของหนังสือพิมพ์ด้วยการลงโฆษณาในพื้นที่ของข่าวโดยไม่ระบุว่าเป็นเนื้อที่โฆษณาหรือการเขียนสนับสนุนธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งที่ให้ค่าตอบแทนสูง
8.ยุคหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจฟองสบู่และวิกฤตเศรษฐกิจ 2540
ยุคนี้อยู่ในช่วงปี
พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน
ในช่วงนี้หนังสือพิมพ์ต้องทำงานภายใต้ระบบทางวัฒนธรรมที่สังคมไทยเปิดรับการสื่อสารข้ามชาติหรือข้างพรมแดนมากขึ้น
นอกจากหนังสือพิมพ์ต้องขับเคี่ยวระหว่างหนังสือพิมพ์ด้วยกันแล้ว
ยังต้องขับเคี่ยวกับอุตสาหกรรมสื่อมวลชนอื่นๆเช่น โทรทัศน์ วิทยุและอินเทอร์เน็ต
ในการแก่งแย้งงบประมาณโฆษณาและผู้บริโภค
หนังสือพิมพ์ที่จะได้รับความนิยมจึงต้องสะท้อนความเป็นสากล มีความรอบด้าน
ลึกซึ้งเป็นกลาง และเสนอข่าวแบบเจาะลึก น้ำหนังของการเติบโตในระยะแรกของช่วงนี้ยังอยู่ที่หนังสือพิมพ์ระดับผู้นำ
และหนังสือพิมพ์แนวเศรษฐกิจ
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปีพ.ศ.
2540 ที่ต่อเนื่องมาจากถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2545) เป็นผลให้หนังสือพิมพ์หลายฉบับปิดกิจการลงไป
เฉพาะอย่างยิ่งหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจที่อาศัยรายได้หลักจากโฆษณา
แต่การที่หนังสือพิมพ์มีจำนวนลดน้อยลงทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับที่ดำเนินการอยู่มีช่องทางขยายจนกลายเป็นธุรกิจทุนขนาดใหญ่
หนังสือพิมพ์ที่อยู่ได้มักเป็นหนังสือพิมพ์ที่นำกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์เกิดหนังสือพิมพ์ประชานิยม
หรือเชิงปริมาณแนวใหม่ขึ้น คือ คม ชัด ลึก
ซึ่งเน้นเสนอเรื่องเร้าอารมณ์เช่นด้วยกับหรือสื่อพิมพ์เชิงปริมาณทั่วไป
เหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม
พ.ศ. 2535 ได้ส่งผลให้เกิดพลังของภาคประชาชน หรือประชาสังคมมากขึ้น
และกระจายไปทั่วประเทศ ประชาชนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม
จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวปฏิรูปการเมือง มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน
รวมทั้งสิทธิในการแสวงหาสข่าวสารข้อมูล และคุ้มครองการทำงานของนักวิชาชีพสื่อมวลชน
เกิดองค์กรสิสระที่ทำหน้าที่รักษาสิทธิของประชาชนและเป็นสถาบันกลางที่เชื่อโยงการทำงานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอบ เป็นต้น
บรรยากาศทางการเมืองและสังคมในช่วงนี้
จึงเป็นการปูฐานรากของประชาธิปไตยแลบประชาขมมีส่วนร่วม
เน้นความโปร่งใสตรวจสอบได้ของภาครัฐและภาคธุรกิจ
หนังสือพิมพ์ถูกเรียกร้องให้ทำงานด้วยความรับผิดชอบและเคร่งครัดในจรรยาบรรณ ในปี
พ.ศ. 2540 ธุรกิจหนังสือพิมพ์ได้ประกาศจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แหงชาติขึ้นเพื่อควบคุมกันเองทางวิชาชีพ
กล่าวโดยสรุป ประวัติศาสตร์หนังสือพิมพ์ไทยได้เติบโตผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมืองเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม และการแสวัฒนธรรมข้ามชาติ จะเห็นได้ว่า
พัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยล้วนเกี่ยวโยงกับแนวคิดอุดมการณ์ที่มีส่วนกำหนดสถานภาพของหนังสือพิมพ์ในแต่ละยุคและหนังสือพิมพ์ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเนื้อหาและแนวนโยบายไปตามบริบทเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
จากหนังสือพิมพ์ที่อยู่ในมือของเจ้านายราชสำนัก มาอยู่ในการดำเนินการปัญญาชน
สามัญชน นักการเมือง นักธุรกิจหรือเจ้าของทุน
และพัฒนาจนกลายเป็นธุรกิจทุนขนาดใหญ่ที่ส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างไม่เสรี
การบริหารงานอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์
หน่วยงานด้านการจัดการ หน่วยงานด้านบรรณาธิการ หน่วยงานด้านการผลิต
- งานธุรการ งานบุคคล - งานข่าวในประเทศ - งานเรียงพิมพ์และพิสูจน์อักษร
- งานจัดจำหน่าย - งานข่าวต่างประเทศ - งานจัดลำดับหน้า
- งานจัดหาโฆษณา - งานขาวภูมิภาค - งานถ่ายฟิล์ม ทำเพลต
- งานการตลาดและ - งานข่าวการเมือง - งานการเข้าเล่ม
ส่งเสริมการขาย - งานข่าวอาชญากรรม - งานเทคนิคและการบำรุงรักษา
- งานด้านการงินและบัญชี - งานขาวเศรษฐกิจ
- งานข่าวการศึกษา
- งานข่าวบันเทิง
- งานข่าวสตรี สังคม
- งานข่าวสารคดี บทความ
- งานข่าวฝ่ายภาพ
- งานข่าวจัดหน้า และงานด้านศิลป์
- งานข่าวบรรณาธิกร
- งานห้องสมุดและศูนย์ข้อมูล
- งานธุรการ งานบุคคล - งานข่าวในประเทศ - งานเรียงพิมพ์และพิสูจน์อักษร
- งานจัดจำหน่าย - งานข่าวต่างประเทศ - งานจัดลำดับหน้า
- งานจัดหาโฆษณา - งานขาวภูมิภาค - งานถ่ายฟิล์ม ทำเพลต
- งานการตลาดและ - งานข่าวการเมือง - งานการเข้าเล่ม
ส่งเสริมการขาย - งานข่าวอาชญากรรม - งานเทคนิคและการบำรุงรักษา
- งานด้านการงินและบัญชี - งานขาวเศรษฐกิจ
- งานข่าวการศึกษา
- งานข่าวบันเทิง
- งานข่าวสตรี สังคม
- งานข่าวสารคดี บทความ
- งานข่าวฝ่ายภาพ
- งานข่าวจัดหน้า และงานด้านศิลป์
- งานข่าวบรรณาธิกร
- งานห้องสมุดและศูนย์ข้อมูล
9.ยุคหนังสือพิมพ์เลือกข้างและยุคหลอมรวมสื่อ
ในช่วง พ.ศ. 2544-2549
ภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาลพันตำรวจโท
ทักษิณ นักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน
การฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อนและครอบงำสื่อ อีกทั้งยังมีข้อกล่าวหาว่าหลีกเลี่ยงภาษี
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้แก่นักลงทุนต่างชาติ
รวมถึงการปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่ง
การประท้วงขับไล่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย เกิดขึ้นใน ปีพ.ศ. 2549
และวันที่
19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะทหารซึ่งภายหลังเรียกตนเองว่า
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ขณะที่พันตำรวจโท
ทักษิณอยู่ต่างประเทศ ศาลที่คณะทหารแต่งตั้งนั้น
ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยด้วยข้อหาโกงการเลือกตั้ง พร้อมทั้งตัดสิทธิ์ทางการเมือง พันตำรวจโท
ทักษิณ และกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเป็นเวลาห้าปี
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่
คมช.แต่งตั้งขึ้นนั้น อายัดทรัพย์สินของพันตำรวจโท ทักษิณ และครอบครัวในประเทศไทย
รวมทั้งสิ้น 76,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าเขาร่ำรวยผิดปกติ การรวมตัวกันของฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ
หรือ นปช. ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 โดยรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง
เพื่อต่อต้านรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และขับไล่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ กับ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ยุติการชุมนุมเมื่อ 26
ธันวาคม
พ.ศ. 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
โดยในภายหลังได้กลับมารวมตัวกันอีก เพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 จนเกิดเหตุการณ์ปะทะกัน
โดยมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
หลังการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล
โดยอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นปช.กลับมาชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาล
จนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อ เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรง
และยกกำลังทหารปิดล้อมผู้ชุมนุม จนต้องยุติการชุมนุมเมื่อ 14 เมษายน พ.ศ. 2552
และแกนนำ
3 คน ได้แก่ วีระ มุสิกพงศ์ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และนายแพทย์เหวง โตจิราการ
ถูกควบคุมตัว และในอีกหลายวันต่อมา รัฐบาลก็ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ต่อมาในปี
พ.ศ. 2553 นปช.จัดชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง
เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม
จนกระทั่งถูกสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม
หลังจากนั้นยังคงมีการชุมนุมอยู่เป็นระยะ
ต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น