วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ยุคสิทธิเสรีภาพหนังสือพิมพ์เบ่งบาน และการปราบปรามครั้งใหญ่
การปราบปราม นสพ. นั้นมีขึ้นครั้งแรกช่วงปี พ.ศ. 2474 ช่วงที่กุหลาบ สายประดิษฐ์ ทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ ศรีกรุงโดยเขาได้เขียนบทความชื่อว่า มนุษยภาพหลายตอนอยู่ด้วยกัน โดยมีเนื้อความวิจารณ์จี้ไปยังจุดอ่อนของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และกลายเป็นบทความที่มีความสำคัญที่สุด ในวงการหนังสือพิมพ์ไทยชิ้นหนึ่ง แต่บทความนี้เองก็ทำให้แท่นพิมพ์ของหนังสือพิมพ์ศรีกรุง ต้องถูกล่ามโซ่เป็นเวลาถึง 9 วัน และพระยาอุปการศิลปะเศรษฐผู้เป็นบรรณาธิการก็ได้ถูกถอนใบอนุญาต เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องใหญ่ในยุคนั้นมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่หนังสือพิมพ์ถูกล่ามโซ่แท่นพิมพ์ไว้
แต่เหตุการณ์การปราบปรามสื่อหนังสือพิมพ์ครั้งใหญ่จะเห็นได้ชัด ในช่วงของการเดินขบวนครั้งใหญ่เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญของขบวนการนิสิตนักศึกษาและประชาชนหรือที่เรียกว่า การปฏิวัติ14 ตุลาโดยประชาชน ได้นำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลทหาร เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ เปิดฟ้าใหม่ให้แก่สิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน มีหนังสือพิมพ์ เกิดใหม่เป็นจำนวนมาก และหนังสือพิมพ์มีจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างหลากหลายทั้งในฝ่ายเสรีนิยมและสังคมนิยม รวมแล้วมีการขอออกหนังสือพิมพ์ถึง 753 ฉบับ แต่มีเพียงร้อยละ10 ที่ดำเนินการจริง
ในช่วงปี พ.ศ. 2517 มีคนหนุ่มสาวและกลุ่มปัญญาชนหัวก้าวหน้าเข้าสู้วงการหนังสือพิมพ์ แบละได้ออหนังสือพิมพ์แนวการเมือง เช่น ประชาชาติ ประชาธิปไตย และ The Voice of the Nation ส่วนนิสิตนักศึกษาได้ออกหนังสือพิมพ์ อธิปัตย์ เพื่อใช้เป็นเวทีในการแสดงบทบาททางการเมืองในอีกด้านหนึ่ง หนังสือพิมพ์ แนวอาชญากรรม เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ดาวสยาม ก็ใช้โอกาสที่เสรีภาพเปิดกว้างในการขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัว ขายข่าวในเรื่องอาชญากรรม ความรุนแรงและเรื่องทางเพศอย่างโจ่งครึ่มในปี พ.ศ. 2518 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พุทธศักราช2518 ที่อนุญาตให้มีการยึดแท่นพิมพ์ได้ มาควบคุมหนังสือพิมพ์แม้ว่านักหนังสือพิมพ์จะเรียกร้องให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 และพร้อมจะจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์เพื่อควบคุมกันเองในทางวิชาชีพ
บรรยากาศที่เสรีภาพเบ่งบานเต็มที่ในช่วงระยะ 3 ปี พ.ศ.2516-2519 ต้องสะดุดหยุดลง เมื่อฝ่ายอนุรักษนิยมร่วมมือกับทหารใช้กำลังปราบปรามนักศึกษาและประชาชนที่ประท้วงการกลับมาของจอมพบ ถนอม กิตติขจร หลังจากนั้น กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าคณะปฏิรูปได้ก่อการรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และบริหารประเทศด้วยการหิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2520 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดๆที่รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและของสื่อมวลชน มีการออกประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 42 สั่งปิดหนังสือพิมพ์และมีการตรวจเซนเซอร์อย่างเข้มงวด หนังสือพิมพ์ที่ถูกกว้าวหาว่าเอียงซ้ายถูกยึดและมีรายชื่อหนังสือต้องห้าม 100 เล่ม ผู้ใดมีไว้ครอบครองจะถูกยึดและเผา มีคำสั่งเรียกผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับเข้าพบที่กอบบัญชาการทหารสูงสุด เพื่อให้ของอนุมัติตี พิมพ์หนังสือพิมพ์เป็นรายๆไป หนังสือพิมพ์ที่ได้รับอนุมัติ คือหนังสือพิมพ์ที่มีทัศนะเอียงขวาและกลางๆมีจำนวนทั้งสิ้น 12ฉบับ ซึ่งไม่มีการวิจารณ์รัฐบาลคณะปฏิรูปอย่างสิ้นเชิงนิสิตนักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้ายหนีภัยคุกคามจากรัฐบาล เข้าป่าจับอาวุธต่อสู่ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และมีการเผยแพร่ความคิดทางการเมืองผ่านวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย และสื่อสิ่งพิมพ์ของพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยการสู้รบด้วยกำลังอาวุธระหว่างทหารรัฐบาลและกอบทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงเมื่อรัฐบาลประกาศนโยบาย 66/2523 และ65/2524 เพื่อลดสภาพความขัดแย้งรุนแรง และการต่อสู้ทางความคิดและความเชื่อทางการเมืองที่ช้ำลังอาวุธและได้ประกาศนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่กลับจากป่าค้นสู่สังคมเมือง
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ประชาธิปไตยในเมืองเบ่งบาน แต่เขตชนบทป่าเขา ยังปกคลุมด้วยเงาแห่งการล้อมปราบ การใช้กำลังอาวุธอย่างเต็มที่
 ยุทธการผาภูมิ 16
เน้นการปฏิบัติด้วยกองกำลังทหารขนาดใหญ่ ยังพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น เชียงของ-เทิง จ.เชียงรายพื้นที่บ้านแม้วหม้อ-ภูลังกา  อ.เชียงคำ-ปง-เชียงม่วน จ.พะเยาและพื้นที่ดอยผาจิ-ผาช้างน้อย  อ.เมือง จ.น่าน
กำลังพล 12,187 คน เป็นการนับรวมกำลังรบและกำลังทหารสนับสนุนทั้งหมด ไม่นับข้าราชการพลเรือน



 มีการสรุปพื้นที่การรบเฉพาะดอยยาว-ดอยผาหม่นได้ดังนี้
การรบพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น
  วันที่ 5 พฤศจิกายน 2516  บ่าย ปางค่าปะทะ  (ปางค่าอยู่ด้านใต้  ผาแลอยู่ด้านเหนือของฐานที่มั่น)
 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2516  เวลาเช้า ปะทะกันที่บ้านผาแล เชียงของ การสู้รบต่อเนื่อง 20 นาที
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2516  ใกล้เที่ยง  เกิดการปะทะ   กำลังติดอาวุธทปท.และทหารบ้านซุ่มตี กองทหารลาดตระเวน  สมรภูมิอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของฝ่ายลาดตระเวน  อิงภูมิประเทศเทือกเขาภูชายแดนในการซุ่มโจมตีและถอยหนีจาก เครื่องบินยิงถล่ม ทิ้งระเบิด
 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2516 ดอยยาว-ผาหม่น   (เทิงอยู่ใต้  เชียงของอยู่เหนือ ฐานที่มั่น)  ปะทะที่บ้านป่าตาล อ.เทิง มีกับระเบิด บทบาทของกับระเบิดเริ่มมีมากขึ้นจากกองกำลังทั้งของรัฐบาลและทปท. ทหารบ้าน
 ยุทธการเกรียงไกร 17  (การยุทธ์ที่ห้วยจะยิน หรือห้วยใจเย็น)
การรบเฉพาะเขตดอยยาว-ผาหม่นสรุปคร่าว ๆ ดังนี้
 วันที่ 9-17 กุมภาพันธ์  2518  เป็นการรบต่อเนื่องในบริเวณห้วยใจเย็น ประกอบด้วย  วันที่ 11 กุมภาพันธ์  2518 รบเนิน  824 กับห้วยจะยิน
 วันที่ 12 กุมภาพันธ์  2518  ทปท. ทหาร ซุ่มตีกองทหารรัฐบาล
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2518   รบหนัก
ภาพรวมของยุทธการผาลาดยุทธการผาภูมิ16 และยุทธการเกรียงไกร 17  เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ  กำหนดช่วงเวลามุ่งทำลายผลผลิตจากการเพาะปลูก  กองกำลังติดอาวุธที่เหนือกว่าของรัฐบาลในยุคสมัยนั้น ใช้การรุกเข้าพื้นที่ต่อสู้ด้วยอาวุธของประชาชน ด้วยการยิงปูพรมนำทางด้วยปืนใหญ่ เครื่องบินถล่ม แล้วจึงเคลื่อนกองกำลังภาคพื้นดินเข้าสู่เป้าหมาย 
 การตีโต้ การต้านการล้อมปราบของทปท. ทหารบ้านและประชาชน จะเริ่มเมื่อกองกำลังภาคพื้นดินเคลื่อนที่เข้าไกลและลึกเข้ามาในเขตดอยยาว-ผาหม่น
 ผลการรบกองกำลังอาวุธรัฐบาลไม่สามารถยึดพื้นที่อย่างยาวนานได้ จำเป็นต้องล่าถอยออกไป และหลังการยุทธการเกรียงไกร 17 ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีการล้อมปราบเปลี่ยนไป
จากเขตพื้นที่พลัดกันยึดครอง จากเขตพื้นที่ต้องย้ายหมู่บ้านหนีการล้อมปราบ ก็เริ่มปักหลักปักฐาน มีความคงที่มั่นคงระดับหนึ่ง เพราะกองกำลังภาคพื้นดินไม่สามารถเข้าถึงได้ 
เรียกขานกันว่า ฐานที่มั่นดอยยาว-ผาหม่น หรือฐานที่มั่นเขต 8 จังหวัดเชียงราย
แต่ในช่วงเวลายาวนานของสงครามประชาชน การแปรเปลี่ยนจากเขตปกครองเขตยึดครองของรัฐบาลเป็นเขตจรยุทธ์ การพัฒนาจากเขตจรยุทธ์เป็นฐานที่มั่น การแปรเปลี่ยนจากฐานที่มั่นเป็นเขตจรยุทธ์ กระทั่งกลายเป็นเขตยึดครองของรัฐบาลเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
สภาพแวดล้อมในอินโดจีนปี 2517 แปรเปลี่ยนเป็นปัจจัยที่เป็นคุณให้การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของประชาชน  การต่อสู้ในเวียดนาม, กัมพูชาและลาว ดุเดือดขึ้น เส้นทางจากแนวหลังทะลวงไปถึงประเทศจีนที่พรรคจีนพร้อมหนุนการต่อสู้ของพรรคพี่น้องในภูมิภาคนี้
สถานการณ์การเมืองในไทยเกิดการ ล้อมปราบ กลางเมืองหลวง”  รูปแบบที่เข่นฆ่าทารุณ ทำพิธีไสยศาสตร์ เผาทั้งเป็นบูชายัญประชาชน ณ ทุ่งพระเมรุ  เอาลิ่มตอกอกนักศึกษา ประชาชน  อันล้วนเป็นการฆ่าที่ผิดธรรมชาติของมนุษย์ เกิดขึ้นในวันที่  6 ตุลาคม 2519
 การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธก็ขยายตัว เฉพาะเขตภาคเหนือในพื้นที่รับผิดชอบปราบปรามของกองทัพภาคที่ 3 เสียงปืนประชาชนก็ดังเพิ่มขึ้น อาทิ
  วันที่ 2 สิงหาคม 2519 การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธเกิดขึ้นที่บ้านเปิงเคลิ่ง  อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  วันที่ 16 พฤษภาคม 2521 ประชาชนจับอาวุธลุกขึ้นสู้ที่ บ้านห้วยขี้มูก  อ.บ้านทับ  อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่


 รวบรัดสรุปภาพรวมปรากฏว่าในเขตภาคเหนือสามารถสถาปนา ฐานที่มั่นตั้งแต่ปี 2511 จนถึงปี 2521 ได้ดังนี้
 1.ฐานที่มั่นดอยยาว-ดอยผาหม่น จ.เชียงราย
                                   2.ฐานที่มั่นดอยผาจิรอยต่อจ.พะเยากับจ.น่าน
                                   3.ฐานที่มั่นภูพยัคฆ์ (น่านเหนือ) อ.ปัว จ.น่าน
                                  4.ฐานที่มั่น ภูสามเหลี่ยม (น่านใต้) อ.แม่จะริม จ.น่าน
                                  5.ฐานที่มั่น ภูขัด  รอยต่อจ.พิษณุโลกกับจ.เลย
                                  6. ฐานที่มั่นภูหินร่องกล้า รอยต่อจ.พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-เลย
                                  7. ฐานที่มั่นเขาค้อ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
                                  8. ฐานที่มั่นขุนแม่ละเมาะ อ.แม่สอด จ.ตาก
                                   9. ฐานที่มั่นแม่จันทะ อ.อุ้มผาง จ.ตาก
 แต่ทั้งนี้หลังจากปี 2517 แล้วยุทธศาสตร์ยุทธ์วิธีการปราบปรามการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของรัฐบาลก็ปรับเปลี่ยน
 การล้อมปราบส่งกำลังเข้าเขตพื้นที่ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธสิ้นเปลืองกำลังคน อาวุธยุทโธปกรณ์มหาศาล หมายถึงการสิ้นเปลืองงบประมาณ จำนวนมาก เป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
ดังนั้นจากการล้อมปราบจึงเปลี่ยนเป็น การปิดล้อมด้วยค่ายทหารและถนนชั้นดี 
ดังนั้นจากการล้อมปราบจึงเปลี่ยนไปสู่ยุทธวิธีหนอนกินใบหม่อนตัดถนนคืบทีละกิโลเมตรเข้าฐานที่มั่น


ดังนั้นจากการใช้กองทหารประจำการ จึงเป็นการใช้ทหารรับจ้าง ทหารฮ่อ  ทหารพราน  และในที่สุดเป็นการประกาศนโยบาย 66/2523 ในสมัยพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี  พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ์ เป็น หนุมานอาสาดูแลทหารบกและกองทัพไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น