ประวัติการหนังสือพิมพ์ไทยภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
สรุปจาก
ประวัติการหนังสือพิมพ์ไทยภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช สุกัญญา ตีระวนิช 2520
บทที่หนึ่ง
หนังสือพิมพ์กับสังคม
หนังสือพิมพ์ คือ หนังสือบอกข่าว ประกอบขึ้นด้วยตัวพิมพ์ หมึกพิมพ์
และกระดาษพิมพ์
1. แถลงข่าวที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น ในประเทศหรือในโลก
2. ชี้แนะแก่ผู้อ่านหรือสาธารณชนในเรื่องอันน่าสนใจ
3. ให้บริการสาธารณะต่าง ๆ
นอกจากนี้หนังสือพิมพ์ยังผลประโยชน์เพื่อการรณรงค์ของสาธารณชน
นอกจากนี้ยังสามารถนำไปอ้างอิงภายหลังได้
Merill และ Lowenstein มีความเห็นว่าปัจจัยบางประการที่ทำให้สิ่งพิมพ์ในแต่ละประเทศ
มีความแตกต่างกันคือ
1. มีพลเมือง (Population) ได้แก่
ขนาดของพลเมือง คุณภาพของประชาชน ระดับความเจริญของสังคมเมือง ภาษาพูด การศึกษา
ระดับการครองชีพ
2. สภาพภูมิศาสตร์ (Geography) ได้แก่
ขนาดของประเทศและสภาพทางภูมิศาสตร์
3. ระบบเศรษฐกิจและการเมือง (Politico- economic system) เราจะพบว่าหนังสือพิมพ์ที่เป็นอิสระมักจะมีอยู่ในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ในระบบอำนาจนิยม
วิวัฒนาการการหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยได้เป็น 5 สมัย ได้ดังต่อไปนี้
1. สมัยอิทธิพลของฝรั่ง เริ่มแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงกลางสมัยรัชกาลที่ 4 ผู้ริเริ่มออกหนังสือพิมพ์คือ
หมอดี้.บี.บรัดเลย์ จะพยายามออกเป็นภาษาไทยมาก เพราะคนไทยที่รู้ภาษาอังกฤษน้อย
2. สมัยราชสำนัก เริ่มตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์เอง
และหมู่พระญาติวงศ์ สมัยราชสำนักนี้เริ่มในรัชกาลที่ 4 จนถึงปลายรัชกาลที่
5 เป็นสมัยที่การหนังสือพิมพ์ตกเป็นของบรรดาเจ้านาย
ซึ่งมีผลทำให้เนื้อหาของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นข่าวของทางราชการ
3. สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อจากราชสำนักไปสู่สามัญชน
เป็นสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ผู้ที่ริเริ่มได้แก่
ก.ศ.ร.กุหลาบและเทียนวรรณ ความสำคัญของยุคนี้อยู่ที่ว่าเป็นยุคที่เปิดประตูจากราชสำนักไปสู่สามัญชน
4. สมัยใหม่ของวงการหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ริเริ่มนิยม
เทคนิควิวัฒนาการของเครื่องจักรเริ่มก้าวหน้าทำให้หนังสือพิมพ์น่าอ่านยิ่งขึ้น
5. ยุคหนังสือพิมพ์เสื่อมเสรีภาพ เป็นยุคที่การเมืองเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มที่
หนังสือก็มีบทบาทน้อยลงไป
Robert E. Park กล่าวไว้ว่าหนังสือพิมพ์มิใช่สิ่งที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาโดยตั้งความมุ่งหวังไว้ให้เป็นเช่นนั้น
ในทางตรงกันข้ามหนังสือพิมพ์เป็นผลผลิตของกระบวนการทางประวัติศาสตร์
ซึ่งสร้างขึ้นมาโดยปราศจากจุดหมายปลายทางที่แน่นอน
ส่วนในอดีตวิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์มีส่วนตัดสินรูปแบบของการทำหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันและลักษณะของหนังสือพิมพ์จะเป็นอย่างไรในแต่ละยุคสมัยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง
ๆ ในสังคมด้วย
บทที่สอง
อุบัติการณ์แห่งหนังสือพิมพ์ไทย
2.1 กำเนิดการพิมพ์ในประเทศไทย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2205
แต่ไม่ได้ออกมาเป็นภาษาไทย
สำหรับการคิดประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทยนั้นเป็นการคิดค้นของ ร.อ. เจมส์ โลว์
ชาวอังกฤษ ผู้เรียนรู้ภาษาไทยทั้งในการพูดและการเขียนตั้งแต่รัชกาลที่ 2 และยังให้หล่อคำภาษาไทยเป็นตัวพิมพ์ที่นครกัลกัตตา
2.2 หนังสือพิมพ์ในยุคต้นกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
วิชาการหนังสือพิมพ์เป็นวิทยาการของฝรั่ง
ที่นำมาเผยแพร่ในประเทศสยามพร้อมกับการเผยแพร่ศาสนาก็คิดถึงการออกหนังสือพิมพ์ด้วย
ซึ่งเป็นความคิดของหมอบรัดเลย์
เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าทรงจ้างให้หมอตีพิมพ์ประกาศห้ามให้สูบฝิ่นเก้าพันแผ่น
ตีพิมพ์แล้วเสร็จในวันที่ 27 เมษายน 2382 นับเป็นครั้งแรกที่เอกสารราชการของไทยเราได้ตีพิมพ์ด้วยวิธีการแบบใหม่
2.2.1 บางกอกรีคอร์ดเดอร์ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ 3
หมอบรัดเลย์ได้จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรกเป็นภาษาไทย ในวันที่ 4
กรกฎาคม พ.ศ.2387 ให้ชื่อว่า “บางกอกรีคอร์ดเดอร์”
บางกอกรีคอร์เดอร์ ออกเป็นรายปักษ์ได้เพียงปีเดียวก็ล้มเลิกไปในปี
พ.ศ. 2388 เพราะขายไม่ดี
2.2.2 หมอบรัดเลย์กับรัชกาลที่ 3 และเจ้าฟ้ามงกุฎ
เป็นสมัยที่พระมหากษัตริย์ไม่คุ้นเคยกับฝรั่งและไม่ค่อยไว้ใจฝรั่งที่เข้ามาเมืองไทย
และยังมีเรื่องขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายติดต่อกับชาวต่างประเทศ
จนกระทั่งขึ้นรัชกาลใหม่ ได้ออกหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์อีกครั้ง คือ
ออกฉบับภาษาไทยในปี พ.ศ.2407 และออกฉบับภาษาอังกฤษในปี พ.ศ.2408
2.2.3 บางกอกรีคอร์ดเดอร์ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ 4 หมอออกหนังสือพิมพ์ครั้งใหม่นี้ก็ออกในลักษณะเดิม คือ ลักษณะจดหมายเหตุ
ออกปักษ์ละ 4 ใบ หรือ 8 หน้า ไม่มีปก
2.2.4 ลักษณะและเนื้อหาของหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์
ฉบับภาษาไทย สมัยรัชกาลที่ 4 บางกอกรีคอร์ดเดอร์เสนอข่าวหลายประเภทด้วยกัน
เสนอข่าวการเมืองและข่าวราชการมากที่สุด รองลงมาคือ พวกศิลปวัฒนธรรม บันเทิงคดี
ที่เหลือเป็นข่าวเศรษฐกิจการค้า
2.2.5 รัชกาลที่ 4 ออกประกาศไม่ให้เชื่อหนังสือพิมพ์
ทรงเห็นว่า หนังสือพิมพ์ควรมีขอบเขต
2.2.6 เมอร์ซิเออร์โอบะเรต์ ฟ้องหมอบรัดเลย์
2.2.7 Bangkok Calendar เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ออกในรัชกาลที่
3 แล้วเลิกล้มไปมาออกอีกครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ 4 ลักษณะคล้ายคลึงกัน ต่างกันแต่ว่าในรัชกาลที่ 3 เจ้าของคือหมอจันทเล
ร.4 หมอบรัดเลย์เป็นผู้จัดทำ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ชื่อว่า
บางกอกคาเลนดาร์
2.3 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงฟื้นฟูการพิมพ์
รัชกาลที่ 4 ได้ทำการฟื้นฟูหนังสือพิมพ์ขึ้นอีกครั้ง
เริ่มด้วยหนังสือราชกิจจานุเบกษา ออกฉบับแรกวันที่ 15 มีนาคม
พ.ศ. 2401 เป็นหนังสือเพื่อออกประกาศของราชการ
รวมทั้งกฎหมายข้อบังคับต่าง ๆ ลักษณะและเนื้อหาของราชกิจจานุเบกษาประกอบด้วยประกาศ
แจ้งความเตือนสติ บอกข่าวประสูติ ข่าวมรณกรรมและอื่น ๆ อีก
ถ้าจะนับว่าราชกิจจานุเบกษาเป็นหนังสือพิมพ์ก็จะเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ออกโดยคนไทยและออกเป็นภาษาไทย
2.4 สรุปการหนังสือพิมพ์ไทยในยุคต้น
สรุปได้ว่าในรัชกาลที่ 3 มีหนังสือพิมพ์ออกเพียง
2 ฉบับ คือ Bangkok Recorder กับ Bangkok
Calendar
บทที่สาม
การหนังสือสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ดร.ซามูแอล จอห์น สมิธ นักหนังสือพิมพ์ผู้แสวงหาเสรีภาพ
การหนังสือในยุคต้นตกอยู่ในวงการของชนชั้นสูงและฝรั่งต่างชาติ
ซึ่งมีจุดประสงค์คือ การทำหนังสือพิมพ์เพื่อผดุงความรู้ เพื่อความบันเทิง
ทรงมีการสนับสนุนการสื่อสารมวลชนเป็นอย่างยิ่งและมีนักหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นเป็นอันมาก
1.1 พระราชประวัติรัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2396 พระนามเดิมคือ
เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2411
และสมเด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม 2453
1.2 หมอสมิธ (Samuel John Smith) กับการหนังสือพิมพ์
หมอสมิธ เกิดในอินเดีย บิดาเป็นชาวอังกฤษ
เมื่อโตขึ้นได้เป็นหมอศาสนา หมอตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่บางคอแหลม ถึงแก่กรรมเมื่อปี
พ.ศ. 2452
1.3 หมอสมิธถูกฟ้อง
ถึงแม้หมอสมิธจะถูกฟ้องอยู่หลายครั้งก็ตามแต่หมอสมิธก็ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการหนังสือพิมพ์ไทยที่สำคัญท่านหนึ่ง
หมอมีความพยายามจะยกระดับสังคมไทยให้ทัดเทียมอารยะประเทศ
บทที่สี่
การหนังสือพิมพ์ไทยเปลี่ยนมือมาอยู่ในหมู่พระญาติวงศ์
4.1 พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ : ดรุโณวาท
ถ้าไม่นับราชกิจจานุเบกษาแล้วดรุโณวาทก็เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่จัดทำโดยคนไทย
4.2 ราชกิจจานุเบกษา
ผู้จัดทำหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ได้แก่พนักงานทำหนังสือ คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร
พระสารสาสน์ พจขันฑ์ และพระยาศรีสุนทรโวหาร
4.3 ค๊อต ข่าวราชการ
เป็นหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรก ออกครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2418 จุดประสงค์ที่ออกก็เพื่อบอกข่าวราชการเป็นรายวัน
4.4 วชิรญาณและวชิรญาณวิเศษ
เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องประวัติศาสตร์
การเขียนเป็นลักษณะความเรียงเสนอความรู้มากกว่าจะเป็นแบบบอกข่าวในปัจจุบัน
ส่วนมากเป็นสารคดี
บทที่ห้า
การหนังสือพิมพ์ไทยเริ่มเปลี่ยนมือมาสู่สามัญชน
1.1 ก.ศ.ร.กุหลาบกับสยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
ก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นผู้สร้างจุดตอ่ในวงการหนังสือพิมพ์จากกำมือของฝรั่งมาสู่เจ้านายในราชสำนักแล้วจึงแพร่ออกมาสู่สถาบันหรือองค์การต่างๆ
ตลอดจนขุนนาง
ก.ศ.ร. กุหลาบ ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
ลักษณะและเนื้อหามีทั้งข่าวและความรู้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี
5.2 กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีบันทึกกล่าวถึงนาย ก.ศ.ร. กุหลาบ
เรื่องการขโมยตำราหลวง ข้อเขียนของนายกุหลาบ
บางส่วนก็ให้ความรู้ดีแต่บางส่วนก็ถูกบิดเบือน
เรื่องราวของนายกุหลาบถูกจารึกไว้โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
5.3 รัชกาลที่ 5 ไม่พอพระทัย ก.ศ.ร. กุหลาบ
รัชกาลที่ 5 ทรงพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่านายกุหลาบแต่งหนังสือเท็จมากมาย
แต่ไม่ทรงลงโทษนายกุหลาบรุนแรงแต่ประการใด
บทที่หก
เทียนวรรณ : นักหนังสือพิมพ์ชาวไทยท่านแรกที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ
6.1 ประวัติชีวิตและพื้นฐานการศึกษา
เทียนวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2385
อายุ 8 ขวบ ได้เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังกับพระองค์เจ้าประไพพักตร์
จนอายุ 20 ปี บวชเป็นพระ
ได้ศึกษาธรรมวินัยและภาษาอังกฤษอันจะมีประโยชน์ต่อการแสวงหาความรู้ในเวลาต่อมา
6.2 เทียนวรรณติดคุก
รศ. 101 หรือ จศ. 1244 เทียนวรรณถูกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและหมิ่นประมาทผู้ยิ่งใหญ่
โดนพิพากษา 2 ข้อหา คือ ข้อหาหมิ่นตราพระราชสีห์
และข้อหาหมิ่นประมาทสมเด็จกรมพระยาฯและเจ้าพระยาพลเทพ
6.3 เทียนวรรณออกหนังสือพิมพ์ตุลยวิภาคพจนกิจ
เทียนวรรณติดคุกอยู่ถึง 17 ปี
และออกมาเป้นทนายความอยู่ 2 ปี
ก็ออกมาทำหนังสือพิมพ์รายเดือนชื่อว่า ตุลยวิภาคพจนกิจ แปลว่า
การเสนอข่าวสารตรงไปตรงมาดุจตาชั่ง ตุลยวิภาคพจนกิจเป็นที่รวมความคิดเห็นต่าง ๆ
ของเทียนวรรณ เทียนวรรณได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ชื่อ
ศิริพจนภาครวบรวมวรรณกรรมที่เขาเขียนไว้ทั้งก่อนและในขณะติดคุก จุดประสงค์ก็คือ
ให้เกิดปัญญา
บทที่เจ็ด
เจ้าฟ้าวชิราวุธกับหนังสือพิมพ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในด้านนี้
ได้ทรงออกนิตยสารฉบับหนึ่งมีชื่อว่า ทวีปัญญา ออกเป็นรายเดือน
จุดประสงค์ของการออกหนังสือนั้นก็เพื่อส่งเสริมความรู้ ประกอบด้วยสุภาษิตซึ่งแฝงคติสอนใจ
ทวีปัญญา
เป็นหนังสือของคนรุ่นหนุ่มที่มีความรู้สูงที่ต้องการจะแสดงความรู้ความสามารถของตนแก่คนทั่วไป
หนังสือพิมพ์และนิตยสารสมัยปลายรัชกาลที่ 5 จึงมักเป็นหนังสือที่เสนอความรู้
และแนวนิยมเอนเอียงไปทางฝรั่งเสียเป็นส่วนมาก
กำเนิดหนังสือพิมพ์จีนในไทย
สมัยรัชกาลที่ 5 ปรากฏว่ามีโรงพิมพ์เกิดขึ้นอย่างมากมาย
แสดงให้เห็นถึงความเจริญในด้านการพิมพ์ที่พุ่งสูงขึ้นตามลำดับ
นอกจากนี้ยังเกิดหนังสือพิมพ์จีนเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
ในบรรดาหนังสือพิมพ์จีนทั้งหมดนั้น จีนโนสยามวารศัพท์
ดูจะเกรียวกราวมากกว่าฉบับอื่น ๆ เจ้าของคือ นายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง
เขาออกหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก่อนจะสิ้นรัชกาลที่ 5 เพียง 3
ปี หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ส่วนใหญ่จึงไปมีบทบาทอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6
เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ “ไทยกรุงเทพฯเดลิเมล์
บางกอกเดลิเมล์”
บทที่แปด
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการหนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์สมัยรัชกาลที่ 6
มีจุดเด่นคือ
การกระตุ้นให้เกิดความรักชาติเนื่องด้วยระหว่างนั้นเป็นขวบปีที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่
1 การรายงานข่าวสงครามก็เพิ่มขึ้นจากการเสนอข่าวธรรมดาสิ่งที่สำคัญที่สุดในสมัยนี้
คือ การที่พระมหากษัตริย์เข้ามามีส่วนร่วมในวงการหนังสือพิมพ์อย่างจริงจัง
8.1 ประชาธิปไตยรอไปก่อน
รัชกาลที่ 6 ทรงชี้แจงไว้หลายครั้งเรื่องการรับประชาธิปไตยโดยพลันนั้น
เป็นสิ่งที่กระทำไม่ได้
ด้วยเหตุฉะนี้จึงทรงเขียนคัดค้านหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่เอาแต่เรียกร้องขอให้มีรัฐสภาโดยที่คนไทยยังไม่ค่อยรู้จักความหมายของประชาธิปไตยดี
8.2 ทรงสอนให้ประชาชนรู้จักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ในรัชสมัยของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพยายามที่จะเปิดเสรีภาพแก่นักหนังสือพิมพ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เพื่อที่จะได้รู้จักแสดงความคิดเห็นที่ถูกที่ควรตามระบอบประชาธิปไตยในการนี้ทรงเปิดโอกาสให้นักหนังสือพิมพ์โต้แย้งกับรัฐบาลได้
8.3 วิเคราะห์บทความตอบโต้ระหว่างรัชกาลที่ 6 กับพระยาวินัยสุนทรและ
“โคนันทวิศาล” รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ลงในไทย และพระยาวินัยสุนทรเขียนลงใน กรุงเทพเดลิเมล์
บทความแรกที่จะพิจารณาคัดมาจากพระนิพนธ์รัชกาลที่ 6 เรื่อง “โคลนติดล้อ” และข้อแย้งของหุ่นดำในบทความชื่อ “ล้อติดโคลน”
8.4 รัชกาลที่ 6 กับไทยและดุสิตสมิต
ในบรรดาหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่ออกในสมัยนี้ มีอยู่สองฉบับ
ที่รัชกาลที่ 6 ทรงมีส่วนผูกพันอยู่ด้วยเป็นอันมาก กล่าวคือ
ได้ทรงส่งเรื่องไปลงใน ไทย อย่างมากมายและทรงเป็นผู้มีบทบาทในการก่อตั้งดุสิตสมิต
จึงกล่าวได้ว่าเป็นพระมหากษัตริย์นักหนังสือพิมพ์
เมื่อหนังสือพิมพ์ไทยออกวางตลาดในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าฟ้าวชิราวุธ ทรงเป็นองค์พระบรมราชูปถัมภ์อยู่
ดังนั้นแผ่นแรกของพิมพ์ไทยจึงมีรูปตราครุฑเป็นสัญลักษณ์
ไทยเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ชี้ถึงแนวโน้มบางประการของทัศนคติของรัชกาลที่
6 เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ ในการปกครองประเทศนั้น รัชกาลที่ 6
ทรงมีนโยบายที่แน่นอนที่จะทำความเจริญแก่ประเทศชาติ
แต่ความคิดเห็นบางประการก็ไม่เป็นที่เห็นชอบจากบุคคลบางจำพวก
8.5 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการออกหนังสือพิมพ์ในดุสิตธานี
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ในหลวงมีความสนพระทัยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก
ถึงกับตั้งดุสิตธานีเพื่อฝึกฝนคนไทยให้คุ้นเคยกับการปกครองในระบอบใหม่
พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าชาวไทยโดยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
หากปล่อยให้ทำการต่าง ๆ โดยไม่ได้เตรียมการก็อาจก่อผลเสียได้
ก่อนจะออกดุสิตธานี ดุสิตธานีมีหนังสือพิมพ์ออกอยู่แล้ว 2 ฉบับ คือ ดุสิตธานีและดุสิตสมัย ข่าวทั่วไปได้แก่
ข่าวทั้งนอกและในเมืองดุสิตธานี
บทที่เก้า
หนังสือพิมพ์บางฉบับในสมัยรัชกาลที่ 6
9.1 จีนโนสมยามวารศัพท์
เป้าหมายของจีนในสยามวารศัพท์
ได้แก่ความพยายามที่จะเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยและจีน ตลอดจนยกระดับสังคมไทย
จีนโนสยามวารศัพท์ พยายามให้เห็นว่าชาวจีนควรจะรักเจ้านายของตัว
ชาวจีนควรปฏิบัติตามกฎหมายไทย
จีนโนสยามวารศัพท์เป็นหนังสือพิมพ์มีมาตรฐานน่าอ่านและชวนศึกษาไม่แพ้หนังสือพิมพ์ฉบับอื่น
ๆ ในสมัยนั้น
9.2 ผดุงวิทยา
จุดประสงค์ของผดุงวิทยาคือ
ต้องการจะให้ความรู้แก่ผู้อ่านแต่ก็แทรกบันเทิงไว้ด้วย เพื่อไม่ให้เบื่อหน่าย
ผดุงวิทยาเลิกออกเมื่อ กุมภาพันธ์ 2458 ที่หยุดเพราะเหตุที่ผดุงวิทยาไม่อยากออกตามกำหนดที่ต้องอยู่ในใต้บังคับบัญชาของท่านผู้รับเท่านั้น
และผดุงวิทยามีอำนาจที่จะบอกเลิกได้ในเมื่อออกแล้ว 12 เดือน
ของปีหนึ่งปีใด
9.3 สยามสาสน์
สยามสาสน์
เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงเสรีภาพในการเขียนที่มีอยู่อย่างมากมายในสมัยนั้น
ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นอันก้าวหน้าของนักหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้น
สยามสาสน์มีลักษณะคล้ายกับจีนโนสยามวารศัพท์และหนังสือพิมพ์ทั่วไปในสมัยนั้น
สนับสนุนการกวีมากถึงกับมีการประกวดกวี
บทความในหนังสือพิมพ์แสดงให้เห็นทัศนคติที่ไม่ดีของคนไทยที่มีต่อชาวจีนในสมัยนั้น
รวมทั้งพระมหากษัตริย์ไทยก็เล็งเห็นภัยอันตรายอันเกิดจากชาวต่างชาติ
จีนโนสยามศัพท์จึงได้มีบทบาทในความพยายามที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยและจีน
แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่อย่างเต็มที่ในสมัยนั้นทั้งแสดงว่ามีผู้ใช้หนังสือพิมพ์อย่างถูกจุดประสงค์หรือถูกหน้าที่ของหนังสือพิมพ์อีกด้วย
9.4 บางกอกการเมือง
วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของบางกอกการเมือง คือ ปี 2470
ได้มีการนำภาพข่าวมาลงในหน้า 1 ใต้ชื่อหนังสือพิมพ์
9.5 เกราะเหล็ก
เกราะเหล็กใช้เนื้อที่ในการโฆษณามากที่สุด คือ 55.5% รองลงมาเป็นสารคดีและบันเทิงคดี
แต่สารคดีนั้นอยู่ในรูปของการเสนอข่าวในตัว หากออกมาในรูปของบทความข่าว
ส่วนที่เป็นข่าวแท้ ๆ มีอยู่น้อย ข่าวประเภทอาชญากรรมมีอยู่ 3.9 % ข่าวราชการการเมืองมี 4.2 % จึงจะเห็นได้ว่าเกราะเหล็กเสนอข่าวที่มีรูปลักษณะของข่าวน้อยมาก
เมื่อเทียบกับโฆษณาและสารคดี
เกราะเหล็กมีทั้งบทความ เรื่องแปล และนวนิยาย
บทความส่วนใหญ่มีความยาวมาก จึงคิดตัดตอนมาลงทีละตอนให้เต็มเนื้อที่
แล้วแต่หน้ากระดาษจะมีเนื้อที่ว่างสักเท่าใด
บางทียังไม่จบประโยคแต่เนื้อที่หมดก็จำต้องยุติแต่เพียงนั้น และไปต่อในฉบับหน้า
วิธีแปลบางครั้งมีการทับศัพท์เดิมอยู่บ่อย ๆ
วิธีการเขียนข่าวมีข้อที่น่าสังเกตคือ
ชอบสอดแทรกความคิดเห็นของตนใส่ไปด้วย คนจึงมิได้อ่านเนื้อข่าวแท้ ๆ
แต่ต้องอ่านคำบรรยายซึ่งบางครั้งก็เป็นจริง บางทีเล่าข่าวและยังมีกลอนขยาย
ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของเกราะเหล็ก คือ ภาพการ์ตูนล้อ
และยังมีภาพการ์ตูนประกอบสารคดี หรือการโฆษณาอีกเป็นจำนวนมาก
การโฆษณาในเกราะเหล็กมีลักษณะเช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์อื่น
คือมักจะใช้สำนวนชักจูงที่สะดุดตา และมีการอธิบายประกอบการโฆษณาอย่างยืดยาว
สมัยรัชกาลที่ 6 หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพมากและคงจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หนังสือพิมพ์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
ทั้งในด้านเทคนิคการพิมพ์และวิธีการเสนอข่าวสารแก่ประชาชน
จะสะท้อนให้ผู้อ่านได้เห็นสภาพของสังคมสมัยนั้น
ตลอดจนบทบาทของหนังสือพิมพ์ในยุคแห่งเสรีภาพ
บทที่สิบ
วิเคราะห์ลักษณะโดยทั่วไปของการหนังสือพิมพ์สมัยรัชกาลที่ 6
การหนังสิพิมพ์ไทยได้ผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ
มาอย่างราบรื่นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3
เมื่อขึ้นรัชกาลที่ 6 ฐานะของประเทศไทยอยู่ในภาระที่จะต้องตัดสินใจว่า
ควรจะรับการปกครองระบอบพาเลียเมนต์หรือไม่ ทังอยู่ในความวิตกว่าเราจะแพ้หรือชนะสงคราม
สื่อมวลชนในยุคนี้จึงเสนอความขัดแย้งในกรณีแรก
และการเรียกร้องผนึกกำลังสามัคคีในกรณีหลัง
ลักษณะของสื่อมวลชนในสมัยนี้แยกออกได้ดังต่อไปนี้
1. ลักษณะตื่นตัวอันเป็นผลจากการแพร่หลายของประชาธิปไตย รัชกาลที่ 6
ได้เป็นที่กล่าวขวัญถึงในฐานะที่ทรงเป็นผู้พิทักษ์เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ถึงแม้จะทรงมีความขัดแย้งอยู่ในพระทัยแต่เท่าที่ทรงแสดงออกก็อาจจะถือได้ว่าเสรีภาพที่พระองค์ประธานนั้นกว้างขวางกว่าพระบรมกษัตริย์พระองค์อื่น
ๆ ทั้งสิ้น
2. การแข่งขันการหาผู้อ่าน การปะทะคารมเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกสนานจึงซื้อหนังสือพิมพ์อ่านกันมาก
นอกจากนั้นยังปรากฏว่าในสมัยนั้นนิยมอ่านเรื่องบันเทิงมาก
3. เนื้อหาของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทโฆษณาและบันเทิง สารคดี
หนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีจุดประสงค์เพื่อการค้ามากกว่า
จะมีการโฆษณามากขึ้น หมายความว่ามีคนอ่านหนังสือพิมพ์เพิ่มจำนวนมากขึ้น
รองจากโฆษณาสินค้าได้แก่ สารคดีและบันเทิงคดี
4. วิวัฒนาการการพิมพ์สมัยรัชกาลที่ 6 มีการใช้ภาพถ่ายอย่างกว้างขวาง
มีการพาดหัวตัวโตแล้วที่หน้า 1 และการเขียนคำนำ
การเขียนตัวอักษรงดงามขึ้นกว่าในสมัยก่อน
5. วิธีการเขียนข่าวและโฆษณายังโบราณอยู่คือ
ยังเขียนข่าวในทำนองเรียงความและแทรกความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนไว้ด้วย
ภาษายังนิยมการใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
6. จำนวนหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งวารสาร
หนังสือพิมพ์และนวนิยาย
หนังสือพิมพ์รายวันมีอัตราเพิ่มกว่าสมัยรัชกาลก่อนเพียง 5 ฉบับ อัตราการเพิ่มของวารสารสมัยรัชกาลที่ 7 มีมากกว่าเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับในสมัยรัชกาลที่
6 แต่มีหนังสือพิมพ์รายวันเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว
7. หลักฐานบางอย่างแสดงว่าหนังสือพิมพ์สมัยรัชกาลที่ 6 มีอิทธิพลฝ่ายบริหารด้วย เป็นสมัยที่พระมหากษัตริย์มีส่วนร่วมในวงการหนังสือพิมพ์อย่างใกล้ชิด
หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพและกลายเป็นอาชีพสำหรับผู้สนใจมากขึ้น มีจำนวนผู้อ่านมากขึ้น
และอิทธิพลของหนังสือพิมพ์เริ่มมีมากขึ้น
มีการรับวิธีการของชาติตะวันตกมาปรับปรุงให้เข้ากับคนไทย
บทที่สิบเอ็ด
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และการหนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 7
เป็นที่น่าสนใจน้อย
การค้นคว้าส่วนใหญ่จึงทำได้จากการศึกษาพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
และจากการอ่านหนังสือพิมพ์ที่ออกในสมัยนั้น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกุศโลบายที่คล้ายคลึงกับพระพุทธเจ้าหลวงและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในเรื่องที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย
ทรงเห็นด้วยกับระบอบนี้แต่ทรงเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงจะต้องค่อยเป็นค่อยไปไม่ให้เสียเลือดเนื้อ
11.1 พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสถานการณ์เลวร้ายในประเทศ
เมื่อได้ขึ้นครองราชย์สมบัติแล้วก็ต้องทรงเผชิญกับปัญหาหนึก คือ
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
เมืองไทยก็เผชิญกับปัญหานี้อย่างหนักจนถึงกับต้องตัดจำนวนข้าราชการไปเป็นจำนวนมาก
ความเสียสละของพระองค์ก็ได้แสดงให้ประชาชนเห็นหลายอย่าง
11.2 พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการปฏิวัติ
ได้ทรงร่างรัฐธรรมนูญขึ้นไว้ฉบับหนึ่งซึ่งกำลังทรงหารือกับผู้รู้ในขณะนั้นอยู่แต่การณ์กลับปรากฏว่าใน
พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้แสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะได้รัฐธรรมนูญในบัดนั้น
ซึ่งก็ไม่ได้ทรงถือทิฐิมานะ ได้ทรงยอมปลดพระราชาภิสิทธิลงทุกสถาน ด้วยหั่นเกรงการนองเลือดเป็นที่ยิ่ง
แต่ได้ทรงถูกคัดค้านไว้ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระองค์ทรงกับถับ “เสียขวัญ”
ข้อที่ทำให้ทรงเศร้าสลดพระทัยอย่างยิ่งคือ ทรงเห็นว่าการปฏิวัตินั้น
มิได้นำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริง และมิได้ต้องพระประสงค์ที่จะต้องเป็น “หุ่นเชิด” ของคณะปฏิวัติ
เมื่อจะเสด็จออกจากประเทศไทยนั้นกำลังทรงวิปโยคมาก
11.3 พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์
พระราชกุศโลบายของพระองค์ท่านคล้ายคลึงกับพระเจ้าอยู่หัวองค์ก่อนเป็นอย่างมากมิได้ทรงเป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย
ทั้งยังทรงเห็นว่าหนังสือพิมพ์ ควรจะมีสิทธิแสดงความคิดเห็น
คณะรัฐบาลได้กราบทูลต่อข้อที่ทรงกังขาเกี่ยวกับสิทธิของหนังสือพิมพ์ดังนี้
1. ให้เสรีภาพในการพูด การเขียน การโฆษณาจริง ๆ
ข้อนี้รัฐบาลรับรองได้แน่ เพราะได้มีพระราชบัญญัติในการพิมพ์ใหม่
เปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์คำสั่งพนักงานการพิมพ์ได้อย่างเต็มที่
เป็นการที่มีสิทธิ์ยิ่งกว่า “พระราชบัญญัติเดิม”
ตามที่ทรงยกตัวอย่างหนังสือพิมพ์เดลิเมล์นั้น
หนังสือพิมพ์เดลิเมล์ได้ยุยงให้เกิดการจลาจลอย่างชัดจึงต้องถูกปิด
เมื่อมีพระราชบัญญัติใหม่แล้ว รัฐบาลมิได้ปิดหนังสือพิมพ์ใด ๆ
และรัฐบาลต้องระมัดระวังในการที่จะสอดส่องมิให้หนังสือพิมพ์
ใช้เสรีภาพในการกล่าวกระทบกระเทือนถึงพระองค์เป็นมาแล้วก็ได้จัดการปิดหรือฟ้องร้องผู้กระทำผิด
สิ่งเหล่านั้นแสดงให้เห็นว่า
คณะปฏิวัติได้ตั้งกองตรวจเซ็นเซอร์หนังสือพิมพ์ข่าวสารใดที่รัฐบาลไม่พอใจหรือติเตียนรัฐบาลก็จะงดลง
หรือถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็จะสั่งยึดใบอนุญาตเจ้าของหรือบรรณาธิการฉบับนั้นเสีย
นักหนังสือพิมพ์หลายคนก็หาได้กลัวเกรงอำนาจเหล่านั้นไม่
มีผู้ฝ่าฝืนตลอดมาและก็ถูกยึดใบอนุญาตเป็นจำนวนมาก
เหตุการณ์นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่พอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง
จึงได้ทรงขอร้องมายังรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลก็อ้างว่า
นักหนังสือพิมพ์เหล่านั้นมีความผิด “ฐานให้เกิดการจลาจลอย่างชัด”
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยพระองค์แรกที่ทรงต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น
พร้อมกับสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
สิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ถูกบั่นทอนตามลงไปด้วย ภายใต้ยุคแห่งใหม่ “ประชาธิปไตย” จากการปฏิวัติของคณะราษฎร
บทที่สิบสอง
หนังสือพิมพ์บางฉบับในสมัยรัชกาลที่ 7
หนังสือพิมพ์ในรัชกาลที่ 7
ก่อนปี 2475 ไม่มีอะไรแตกต่างกันสมัยรัชกาลที่
6 เท่าใดนัก สิทธิเสรีภาพมีอยู่โดยเท่าเทียมกัน
เนื้อหาสาระคล้ายคลึงกันคือ มีโฆษณามาก มีนิทาน บันเทิง ประเภทพงศาวดารจีนมากมาย
รัชกาลที่ 7 มีความสนใจด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
สิ่งที่น่าสนใจทางด้านการหนังสือพิมพ์สมัยนี้อยู่ที่ความผันแปร
ในสมัยปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมากกว่า
12.1 หนังสือพิมพ์ก่อนปี 2475
12.1.1 หนังสือพิมพ์ศรีกรุงฉบับปี 2475 โดยพิจารณาจากเนื้อหา
คือ บันเทิงคดี ข่าว การพาดหัวข่าว โฆษณาและสารคดี
บันเทิงคดี ประกอบด้วยพงศาวดารจีน
ข่าวในศรีกรุงมีประจำในหน้าแรก ซึ่งมักประกอบด้วย รูปภาพและโฆษณา
ประกาศแจ้งความ บางทีก็มีบทบรรณาธิการ อยู่ในหน้าแรกด้วย
การพาดหัว มักจะสรุปเนื้อความของข่าวที่น่าสนใจมากกว่า
จะเป็นการพาดหัวตัวโต แบบกระตุ้นความรู้สึกและความสนใจของผู้อ่าน
โฆษณา เป็นสาระใหญ่ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้
เรื่องที่โฆษณามักจะเป็นยาฝรั่ง ซึ่งคงจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใหม่
และเป็นที่นิยมในสมัยนั้น
วิธีการเขียนโฆษณา ก็มักมีการเน้นตัวหนังสือหนักเบาหรือตัวโต
ตัวเล็ก พยายามใช้สำนวนแปลก ๆ หรือถ้อยคำพรรณนาโวหาร อย่างยืดยาว
สารคดี มีน้อยมากแต่ละฉบับจะมีสารคดีประมาณ 2-3 เรื่อง
ศรีกรุง เป็นหนังสือพิมพ์ที่น่าอ่านฉบับหนึ่ง
ซึ่งมิได้กิติศัพท์ในทางคารมกล้านัก แต่อ่านแล้วได้ประโยชน์
และทำหน้าที่ของตนในกรอบที่สมควร
12.1.2 หนังสือพิมพ์ราษฎร เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน
กระดาษที่ใช้พิมพ์บางครั้งเป็นกระดาษสีปนอยู่ด้วย
เป็นหนังสือพิมพ์ที่เน้นหนึกในทางด้านโฆษณา รองลงมาคือ ข่าวและบันเทิง ข่าวที่มีอยู่มักเกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานของทางราชการเป็นส่วนมาก
ราษฎร ไม่มีลักษณะแปลกใหม่จากหนังสือพิมพ์ในสมัยเดียวกัน
การโฆษณาก็เป็นไปในแนวเดิม
12.1.3 หนังสือพิมพ์หลักเมือง เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน
ส่วนใหญ่เป็นการโฆษณา รองลงมาเป็นบันเทิงคดี สารคดี ข่าวมีน้อยมาก
หลักเมือง แสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว และพระราชินี
เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ จะเห็นได้จาก
บทสรรเสริญพระเกียรติคุณของทั้งสองพระองค์
เป็นลักษณะที่แบ่งแยกสถาบันกษัตริย์กับสถาบันข้าราชการ ที่ถูกโจมตีตลอดเวลา
ตลอดจนจุดประสงค์อันหนึ่ง ซึ่งแถลงไว้อย่างแจ้งชัดว่าต้องการจะกระทำงานสนองบุญคุณชาติประเทศ
และสมเด็จพระราชาธิราชสยาม
12.2 หนังสือพิมพ์ในช่วงปี 2475
12.2.1 หนังสือพิมพ์ “10 ธันวา”
เริ่มออกเป็นฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2475 ออกเป็นรายสัปดาห์ผู้ก่อตั้งคือ
นายหรุ่น อินทุวงศ์ “10 ธันวา” สาเหตุที่ตั้งชื่อนี้ก็เพื่อระลึกถึงความเป็นเอกราชและเสรีภาพของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ
“ 10 ธันวา” มีจุดประสงค์ของตนว่า
เพื่อ “อ้าปากออกเสียงสนับสนุนในวงการเมืองตามสติกำลังเท่าที่จะทำได้”
บทความใน “ 10 ธันวา” นอกจากจะเขียนเกี่ยวกับการเมืองแล้วยังสะท้อนภาพสังคมขณะนั้นด้วย
บันเทิงคดีเป็นหลักสำคัญของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ มีทั้งนวนิยาย สั้น ยาว โคลง
กลอนฉันท์
12.2.2 เฉลิมรัฐธรรมนูญ ก่อตั้งโดยสมาคมคณะราษฎร โดยหลวงสรรสารกิจ
เป็นผู้จัดการทั่วไป นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นบรรณาธิการ
เริ่มออกครั้งแรกในช่วงระยะงานเฉลิมรัฐธรรมนูญปี 2475 เพื่อออกข่าวเกี่ยวกับงานและลงบทความทางการเมือง
การปกครอง
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้
พยายามจะอธิบายถึงความหมายของการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญและความหมายของรัฐธรรมนูญ
ทั้งยังสนับสนุนคณะราษฎรอย่างเต็มที่
12.2.3 เสรีภาพ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นบันเทิงคดี นอกนั้นเป็นข่าว โฆษณา
สารคดี การ์ตูน
12.2.4 ชาติไท เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน
มีเนื้อหาประเภทบันเทิงคดีมากที่สุด ไม่ค่อยลงข่าวการเมือง
ข่าวส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องข่าวเบ็ดเตล็ด ข่าวสังคม ข่าวแฟชั่นสตรีมากกว่า
โฆษณามีลดน้อยลง
12.2.5 สยามใหม่ วัตถุประสงค์ในการออกหนังสือพิมพ์ฉบับนี้คือ
เพื่อเสนอข่าวให้ความรู้และเสนอข่าวการบันเทิง
เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ของผู้อ่านให้ได้รับความสนุก
12.3 หนังสือพิมพ์หลังปี พ.ศ.2475
12.3.1 ไทเมือง มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งว่า
ต้องการที่จะผดุงรัฐธรรมนูญและทำการเพื่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
และเกี่ยวกับการเมืองมากที่สุดทั้งในข่าวและสารคดี
12.4 สรุปลักษณะของหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 7
จะเห็นได้ว่าการเมืองมีอิทธิพลต่อวงการหนังสือพิมพ์เป็นอย่างมาก
ในเรื่องเกี่ยวกับสำนวนการเขียน การวางรูปเล่ม ยังไม่แตกต่างจากสมัยรัชกาลที่ 6
เท่าใดนัก
การหนังสือพิมพ์ที่เฟื่องฟูมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 และเจริญสืบต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 นั้น
จึงเริ่มตกต่ำในปลายรัชกาล เนื่องจากผู้มีอำนาจได้สนับสนุน
นักหนังสือพิมพ์จึงต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตนเอง การปฏิวัติปี 2475 เป็นตัวแปลสำคัญที่ทำให้เกิดผันผวนอันยิ่งใหญ่ในวงการหนังสือพิมพ์ยังไม่เคยปรากฎมาก่อน